Films
seen in the 38th week of the year 2023 (17-23 Sep)
1.HAUNTING OF THE QUEEN MARY (2023, Gary Shore,
horror, A+30)
2.EL SUR (1983, Victor Erice, Spain, A+30)
3.MONSTER (2023, Hirokazu Koreeda, Japan, queer,
A+30)
4.HONEY
SWEET (2023, Lee Han, South Korea, A+30)
5.NOTHING
BUT FINGERS (2023, Moe Satt, Myanmar, video installation, A+30)
6.A HAUNTING IN VENICE (2023, Kenneth Branagh,
A+30)
7.IMMERSION (2023,
Takashi Shimizu, Japan, horror, A+30)
8.RASCAL DOES NOT
DREAM OF A SISTER VENTURING OUT (2023, Soichi Masui, Japan, animation, A+30)
9.LOST IN THE STARS (2022, Rui Cui, Xiang Liu,
China, A+25)
10.KUMARN
กุมาร (2023, Thitipan Raksasat, horror, A+15)
11.IMMORTAL SPECIES อมตะพันธุ์สยอง
(2023, Jetnipat Sasing, horror, A+)
12.A TIME TO FLY บินล่าฝัน (2022,
Saksiri Kochpatcharin, B+ )
13.RETRIBUTION (2023, Nimrod Antal, B+ )
สรุปว่า ใน 38 สัปดาห์แรกของปีนี้
เราดูหนังไปแล้ว 602+13 =
615 เรื่อง แต่เป็นหนังสั้นหลายเรื่อง
TRIPLE
BILL FILM WISH LIST
ชอบหนังเรื่อง
HOW WE SAY GOODBYE (2023, ธันยชนก อภิสัมโพธิ์กุล, 29min, A+30) มาก ๆ
ที่เป็นเรื่องของสองสาวที่เพิ่งเรียนจบจากมหาลัย เราเข้าใจว่าเป็น roommate
หรือเป็นเพื่อนสนิทกัน แต่ทั้งสองกำลังจะแยกทางกันไปใช้ชีวิตของตนเอง
คนนึงเก็บของออกจากหอพัก เพื่อจะไปเรียนต่อที่อังกฤษ
รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมาะจะฉายควบกับหนังอีก
2 เรื่องมาก ๆ ซึ่งได้แก่
1.LEAVING ON THE CAR (2021, Nacha
Daoruang นัชชา ดาวเรือง, 26min, A+30) ที่เป็นเรื่องของสองสาวเพื่อนสนิทที่คนนึงกำลังจะไปเรียนต่อต่างประเทศเหมือนกัน
เพราะเราว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้นำเสนอความรักความผูกพันระหว่างเพื่อนสนิทสองคนได้ดี
บวกกับความเศร้าที่เพื่อนคนนึงกำลังจะไปเรียนต่อต่างประเทศ เพียงแต่ว่าในกรณีของ LEAVING
ON THE CAR นั้น “การแยกทางกันไป”
นำมาซึ่งการทะเลาะตบตีกันอย่างรุนแรง
ไม่ได้นำมาซึ่งความเศร้าซึ้งอาลัยเป็นหลักแบบใน HOW WE SAY GOODBYE
2.NICE
TO MEET YOU (2005, Tossapol Boonsinsukh, 25min, A+30)
เราว่า
NICE TO MEET YOU
ในแง่นึงอาจจะเป็นเหมือนกับ “ภาคต่อ” ทางอารมณ์ของ HOW WE SAY GOODBYE เพราะว่าถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด หนังเรื่อง HOW WE SAY GOODBYE ถ่ายที่ม.ธรรมศาสตร์ รังสิตหรือเปล่า คือเหมือนมันมีบางฉากใน HOW
WE SAY GOODBYE ที่เพื่อนสนิทสองคนเดินเตร็ดเตร่อยู่ด้วยกันในมหาลัยหลังเรียนจบใหม่
ๆ เพื่อรำลึกถึงความทรงจำดี ๆ
ที่ทั้งสองเคยมีร่วมกันสมัยเรียนในมหาลัย
ส่วน NICE TO MEET YOU นั้นเล่าเรื่องของชายหนุ่มหญิงสาวสองคนที่เป็นเพื่อนสนิทกัน
ทั้งสองเดินเตร็ดเตร่ในมหาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต
และรำลึกถึงความหลังของทั้งสองสมัยที่เพิ่งเข้ามาเป็นนิสิตใหม่ ๆ
เราก็เลยรู้สึกว่าเนื้อหาใน
NICE TO MEET YOU นั้นเหมือนเป็นภาคต่อของ
HOW WE SAY GOODBYE มาก ๆ
เพราะมันมีความเป็นไปได้ที่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า นางเอกของ HOW WE SAY
GOODBYE ก็คงเรียนจบปริญญาโทแล้ว
และเธอคงบินกลับมาเยี่ยมแม่และเยี่ยมเพื่อน ๆ ที่กรุงเทพ
เธอคงจะนัดเจอกับเพื่อนสนิทของเธอที่ม.ธรรมศาสตร์ รังสิต
และเธอคงจะมาเดินเตร็ดเตร่ในมหาลัยกับเพื่อนสนิทของเธอ
และรำลึกถึงความหลังของทั้งสองสมัยที่เพิ่งรู้จักกันตอนเข้ามาเป็นนิสิตใหม่ในมหาลัย
เหมือนกับที่ตัวละครใน NICE TO MEET YOU ทำกัน
TRIPLE
BILL FILM WISH LIST
รู้สึกว่าหนังเรื่อง
REDLIFE (2023, Ekalak Klunson, A+30)
เหมาะจะฉายควบกับหนังอีก 2 เรื่องมาก ๆ ซึ่งได้แก่
1.ANONYMOUS IN BANGKOK (2016, Sineenat
Kamakot, documentary, A+30)
สารคดีที่สัมภาษณ์โสเภณีที่มีความสุขกับชีวิต
ซึ่งถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังสารคดีเรื่องนี้ถ่ายที่วงเวียน 22 กรกฎา
ชอบเนื้อหาของหนังสารคดีเรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก
ๆ
เพราะโสเภณีที่ให้สัมภาษณ์ในหนังเรื่องนี้มีความภาคภูมิใจเป็นอย่างมากที่เธอหาเงินได้มากกว่าสาวออฟฟิศ
และเธอมีความสุขมาก ๆ ที่เธอ “ได้เอากับผู้ชายหลายคนแล้วได้ตังค์ด้วย”
และเธอก็มีความสุขที่เธอไม่ต้องคอยดูแลปรนเปรอผัวแบบผู้หญิงคนอื่น ๆ
ที่มีสถานะเป็น “แม่บ้าน”
เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10210586945293202&set=a.10210385200369705
2.สูงวัยให้บริการ AN OLD PROSTITUTION (2020, Suphisara Kittikunarak,
documentary, A+30)
สารคดีที่สัมภาษณ์โสเภณีสูงวัยในกรุงเทพ
ซึ่งพอเราเห็นตัวละครของคุณกรองทอง รัชตะวรรณใน REDLIFE เราก็เลยนึกถึงหนังสารคดีเรื่องนี้มาก ๆ
ดูหนังสารคดีเรื่องนี้ได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=6wyMV-x1oug
QUADRUPLE BILL FILM WISH LIST
รู้สึกว่าหนังเรื่อง I’M FEELING
GOOD (2023, ฉัตรชนก ศศิชานนท์, 54min, A+30) เหมาะฉายควบกับหนังอีก
3 เรื่องที่พูดถึง “ความกดดันในที่ทำงาน office” จนเกิดเป็นภาพหลอน
หรือจนเกิดฆาตกรโรคจิต เหมือน ๆ กัน โดยหนังอีก 3 เรื่องนี้ได้แก่
1.PROJECT M31 (2020, Panuschakorn Samrongthong, 33min, A+30)
2.OFFICE (2015, Hong Won-chan, South
Korea)
3.OFFICE KILLER (1997, Cindy
Sherman)
TRIPLE BILL FILM WISH LIST
หนี่งในสิ่งที่เราชอบอย่างสุด ๆ
ในเทศกาลหนังสั้นมาราธอน ก็คือการที่หนังในเทศกาลนี้มาจากผู้กำกับที่หลากหลายทั่วสังคมไทย
หนังบางเรื่องก็เลยช่วยกันเติมเต็มภาพของสังคมไทยให้เห็นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น
หรือหนังบางเรื่องก็เลยเหมือนมีบทสนทนาต่อกันโดยไม่ได้ตั้งใจ อย่างเช่นหนัง 3
เรื่องนี้
1.THE PATHOLOGIST (ธีรพล
อำไพ, documentary, 5min, A-)
สารคดีที่เราว่าจริง ๆ แล้วมันคือโฆษณาของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
สร้างจากเรื่องจริงของแพทย์ที่ตรวจเนื้อเยื่อเพื่อวินิจฉัยโรคของคนไข้
แต่อยู่มาวันหนึ่งเธอก็พบว่าตัวเองเป็นมะเร็งเสียเอง
ถ้าหากมองในแง่ของโฆษณาแล้ว
นี่ก็เป็นโฆษณาที่ประสบความสำเร็จนะ เพราะมันแสดงให้เห็นถึงความถึงพร้อมของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ที่พร้อมจะดูแลคนไข้ด้วยบุคลากรที่มีความสามารถมากมาย, อุปกรณ์ครบครัน และพร้อมที่จะดูแลคนไข้ต่างชาติได้เป็นอย่างดีด้วย
คือถ้าหากใครมีเงินมากพอ แล้วได้เห็นโฆษณาชิ้นนี้ ก็อาจจะอยากลองพิจารณาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นหนึ่งในตัวเลือกในการเข้าไปรักษา
2.MEDICAL PARTHENOGENESIS (โมกข์ เชื้อภักดี, documentary,
A+30)
สารคดีที่สะท้อนความขาดแคลนบุคลากรและอุปกรณ์ของโรงพยาบาลในต่างจังหวัดของไทย
3.
HELPCARE: ใกล้บ้าน THE 1ST LINE (ธัชพร
ตั้งตระกูล, documentary, 51min, A+30)
สารคดีที่ตีแผ่สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงอย่างสุด
ๆ ของ “รพ. สต.” หรือ “โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” ในประเทศไทย คือเราดูแล้วช็อคมาก
ๆ เพราะเราไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้มาก่อน และนึกไม่ถึงว่าสถานการณ์มันจะวิกฤติรุนแรงขนาดนี้
คือเหมือนรพ.
สต. เหล่านี้ ถึงแม้จะได้ชื่อว่าเป็นโรงพยาบาล แต่หลายแห่งมันเป็นโรงพยาบาลที่มีแต่
“พยาบาล” และแทบไม่มีแพทย์ประจำอยู่เลย และจำนวนพยาบาลก็มีไม่เพียงพอด้วย
เหมือนกับว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นศูนย์อนามัยที่ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลเท่านั้นเอง
หนักที่สุด
คือถ้าหากเราไม่ได้ดูหนังสารคดีเรื่อง
HELPCARE นี้ แล้วดูแต่หนังโรง เราก็อาจจะนึกว่า
รพ.สต.เหล่านี้เป็น “romantic places” นะ คือเห็นแล้วนึกถึงสถานที่ทำงานของ
“หมอปลาวาฬ” ในไทบ้านเดอะซีรีส์น่ะ แต่เราก็ไม่รู้ว่าสถานที่ทำงานของหมอปลาวาฬในไทบ้านเดอะซีรีส์มีสถานะเป็นอะไรกันแน่
ในหนังเรื่อง
“นาค เรื่องเล่าจากชาวบ้าน” ตอน “นาคาแมน (2023, โสภา เที่ยงเดช, A+25)
นั้น หนังเรื่องนี้ก็เล่าเรื่องราวของแพทย์สาวจากกรุงเทพ
ที่มาทำงานที่รพ.สต. และพบรักกับหนุ่มชนบทเช่นกัน
เราก็เลยรู้สึกว่า
หนังสารคดี 3 เรื่องในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนนี้มันเหมือนสนทนากันโดยไม่ได้ตั้งใจ และมันสะท้อนภาพความหลากหลายของโรงพยาบาลในไทยได้ดี
เราได้เห็นสภาพของทั้งโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และรพ.สต.ในเทศกาลภาพยนตร์เดียวกัน และมันก่อให้เกิดความรู้สึกที่หนักมาก
ๆ สำหรับเราในขณะที่ดู
ปีที่แล้วเราก็รู้สึกแบบเดียวกันนี้นะ
ตอนดูหนังสารคดีเรื่อง HOME 101 (2022, Chewin Waneloh,
A+30) ที่พูดถึงครอบครัวครอบครัวหนึ่งที่เคยอาศัยอยู่ในบ้านหลังหนึ่งมาเป็นเวลานานหลายสิบปี
และผูกพันกับคนในชุมชนนั้น ๆ มาก ๆ จนกระทั่งครอบครัวนั้นถูกไล่ที่
เพราะพวกเขาไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน พวกเขาก็เลยไม่สามารถอาศัยอยู่ในบ้านหลังเดิมที่อยู่กันมานานหลายสิบปีได้
แล้วหนังสารคดีเรื่อง
HOME 101 นี้ ก็ฉายในวันเดียวกับวันที่การฉายหนังสารคดีหลาย
ๆ เรื่องเกี่ยวกับ “บ้านโบราณที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมเป็นอย่างมาก” ซึ่งบ้านที่มีคุณค่าทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นของคนรวย
พวกเขาก็เลยมีเงินบูรณะรักษาสมบัติทางสถาปัตยกรรมเหล่านี้เอาไว้ได้ (ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ดีแล้วที่อนุรักษ์เอาไว้)
จำได้ว่าตอนดู
HOME 101 เราไม่ได้รู้สึกอะไรมากนัก
แต่พอดูหนังสารคดีเกี่ยวกับ “บ้านของคนรวย” หลาย ๆ เรื่องติดกัน แล้วเราย้อนคิดไปถึง
subjects ของ HOME 101 เราก็ร้องไห้ออกมา
เราเคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10231393931534854&set=a.10230383642238253
เพิ่มเติมรายชื่อหนังที่มีอะไรใกล้เคียงกัน
แล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ
51.MAD FATE (2023, Soi Cheang, Hong Kong, A+30)
+ PROJECT-A (ASPHYXIA) (เกริกฤทธิ์ คำเก่ง, 23min, A+30) จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ
สุรินทร์
เราไม่แน่ใจว่า PROJECT-A (ASPHYXIA) เป็นหนังปี 2022 หรือ 2023 แต่ดูแล้วเหมาะฉายควบกับ
MAD FATE มาก ๆ เพราะตัวละครพระเอกของ PROJECT-A
(ASPHYXIA) เป็นชายหนุ่มที่ struggling กับความเป็นฆาตกรโรคจิตในใจตัวเอง
และเขาเคยฆ่าแมวในวัยเด็กด้วย ซึ่งเหมือนกับตัวละครเอกของ MAD FATE มาก ๆ โดยหนังทั้งสองเรื่องนี้ไม่ได้ treat ตัวละคร “ชายหนุ่มผู้ต่อสู้กับความเป็นฆาตกรโรคจิตในใจตัวเอง”
นี้ในฐานะผู้ร้ายที่ต้องถูกพระเอกคนดีมาตามปราบ แต่ treat มันในฐานะ
anti-hero อะไรแบบนั้นมากกว่า
เราเคยเขียนถึง MAD FATE ไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10232626676312703&set=a.10230383642238253
52. PANARE, SHIP ON THE SHORE ปะนาเระ
เรือเล็กอาจจะไม่ได้ออกจากฝั่ง (2023, Naphat Wesshasartar, documentary,
A+30)
+ PATA TARE’ ปาตา
ตาเระ (2023, มุสลิมีน อาลีมามะ, documentary, 11min,
A+30)
เรามีอายุ 50 ปีแล้ว แต่เราไม่เคยได้ยินชื่ออำเภอปะนาเระ
จังหวัดปัตตานีมาก่อน แต่อยู่ดี ๆ ในปีนี้ก็มีหนังสารคดีเกี่ยวกับปะนาเระออกมาพร้อมกัน
2 เรื่อง นึกว่าใจตรงกันโดยบังเอิญ โดยหนังสารคดีทั้งสองเรื่องนี้พูดถึงปัญหาของชาวประมงในปะนาเระเหมือนกัน
โดยที่ PANARE, SHIP ON THE SHORE เน้นพูดถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อชาวประมง ส่วน PATA
TARE’ บอกว่ามีหลายปัจจัย (ซึ่งรวมถึงสิ่งแวดล้อม, กฎหมาย)
ที่ส่งผลให้เด็กรุ่นใหม่อาจไม่สืบทอดอาชีพประมงต่อจากบรรพบุรุษ ซึ่งอาจจะส่งผลให้ “ดูหลำ”
ซึ่งเป็นภูมิปัญญาในการฟังเสียงปลาไม่ได้รับการถ่ายทอดต่อคนรุ่นหลัง ๆ และมันอาจจะหายสาบสูญไปได้
เราเคยเขียนถึง PANARE, SHIP ON THE SHORE ไว้แล้วที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10231030127199973&set=a.10230383642238253
ฉันรักเขาอย่างรุนแรงค่ะ Johnny Phuongsouvanh from NAK นาค เรื่องเล่าจากชาวบ้าน ตอน “นาคาแมน (2023, โสภา
เที่ยงเดช, A+25)
No comments:
Post a Comment