Sunday, November 12, 2023

MAD FATE


MAD FATE (2023, Soi Cheang, Hong Kong, A+30)

หนังที่ชอบที่สุดที่ได้ดูตั้งแต่ต้นปี 2023

 

SPOILERS ALERT FOR “MAD FATE” + “KNOCK AT THE CABIN” + FEBRUARY (2015, Oz Perkins)

--

--

--

--

--

1.ถือเป็นหนังอันดับหนึ่งประจำปี 2023 ของเราในตอนนี้ โดยเฉือนชนะ ALICE, DARLING (2022, Mary Nighy) กับ DOZENS OF NORTHS (2021, Koji Yamamura, Japan) ไปได้แบบฉิวเฉียด เพราะเราชอบและอินอย่างรุนแรงกับ “เนื้อหา” ของ ALICE, DARLING แต่เฉย ๆ กับวิธีการกำกับ ส่วน DOZENS OF NORTHS นั้นเรารักการกำกับ แต่ไม่ได้อินอย่างรุนแรงกับเนื้อหา เพราะฉะนั้นเราก็เลยให้ MAD FATE ชนะไป เพราะเราอินกับเนื้อหาของ MAD FATE และชอบวิธีการกำกับของ Soi Cheang ด้วย ดูแล้วเรารู้สึกตื่นเต้นลุ้นระทึกพอๆ กับดูหนังของ Alfred Hitchcock และ Paul Verhoeven

 

2. สิ่งที่ทำให้ MAD FATE ครองอันดับหนึ่งประจำปีของเราในตอนนี้ (แต่ตอนนี้ยังไม่สิ้นปีนะ อาจจะมีหนังเรื่องอื่น ๆ พลิกโผขึ้นมาได้อีก) เพราะเรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้กระตุ้นให้เรานึกถึงประเด็นที่เราสนใจน่ะ คือเราไม่แน่ใจหรอกว่า MAD FATE ตั้งใจพูดถึงประเด็นต่อไปนี้หรือเปล่า แต่ไม่ว่าหนังจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ หนังเรื่องนี้ก็กระตุ้นให้เรานึกถึงประเด็นที่เราสนใจเป็นอย่างมาก นั่นก็คือประเด็นทำนองที่ว่า Does God (พระเจ้า) exist? Do gods (เทพเจ้า) exist? Are there supernatural powers in the universe? If God exist, is he merciless or merciful? Is he cruel or benevolent? If God is cruel and unjust, must we obey him? Should we obey the unjust God? Should we resist and fight back the unjust God as much as we can? Should we obey the unjust powers in the universe? Are our lives predetermined by fate? Or only PARTIALLY predetermined by fate? Should we fight our own fate? Will our fight against fate be successful or futile? Maybe our lives are only partially predetermined by fate, and we can change our fate or choose our own fate to a certain degree.

 

ซึ่งประเด็นเหล่านี้มันเป็นหนึ่งในประเด็นที่เราสนใจอย่างสุด ๆ น่ะ เพราะฉะนั้นนิยายที่พูดถึงประเด็นนี้ อย่างเช่น TESS OF THE D’URBERVILLES (1891, Thomas Hardy) และบทกวีที่พูดถึงประเด็นนี้ อย่างเช่น APPARENTLY WITH NO SURPRISE ของ Emily Dickinson (1830-1886) ก็เลยติดอันดับหนึ่งในบทประพันธ์ที่เราชื่นชอบที่สุดตลอดกาล และหนังที่พูดถึงประเด็นทำนองนี้และแสดงทัศนคติที่สอดคล้องกับเราก็ย่อมต้องเป็นหนังที่เราโปรดปรานไปโดยปริยาย

 

เราก็เลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เป็น antidote ที่ดีต่อหนังเรื่อง KNOCK AT THE CABIN (2023, M. Night Shymalan) ที่เราเกลียดชังด้วย 55555 เพราะเรารู้สึกว่า KNOCK AT THE CABIN ตอบคำถามข้างต้นว่า God does exist. He is merciless and cruel, and we must or we should obey this merciless God. ซึ่งมันค้านแย้งกับความเชื่อและทัศนคติส่วนตัวของเราที่ต้องการต่อต้านพระเจ้าหรือเทพเจ้าที่ชั่วร้าย

 

ซึ่งเราเองก็ไม่รู้หรอกว่า จริง ๆ แล้ว MAD FATE ตอบคำถามข้างต้นของเราอย่างไรบ้าง แต่เหมือนหนังเรื่องนี้มันเปิดพื้นที่หรือเอื้ออำนวยให้เราจินตนาการว่า หนังเรื่องนี้อาจจะสอดคล้องกับทัศนคติของเราก็ได้ คือเหมือน MAD FATE มันตอบคำถามของเราว่า Gods may or may not exist. We don’t know. Our lives may be partially predetermined by fate, but only partially. That means we can still fight our fate as best as we can. Maybe we can change or improve our fate to a certain degree. Our lives may be extremely bad and full of enormous obstacles. Our lives may be like the life of the ant who is struggling agains relentless big drops of water. But if we CHOOSE to fight, maybe we can still win. Fate may impel us to be murderers or criminals. Fate may open a lot of chances for us to murder someone, to commit a crime, or to do any other bad things, but that doesn’t mean we cannot CHOOSE. Though fate impels us to be murderers/criminals/bad persons, we can still CHOOSE to fight our own fate. We can resist every chance that fate opens for us to commit a crime. Maybe our lives are partially predetermined by fate, but our lives are also partially determined by every CHOICE that we make in every second, too.

 

คือเรารู้สึกว่า MAD FATE มันตอบคำถามข้างต้นของเราว่าอย่างนี้น่ะ ซึ่งมันสอดคล้องกับทัศนคติของเราอย่างสุด ๆ เราก็เลยรักหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ ไปเลย

 

3.ซึ่งหนังเรื่องนี้ก็ดูเหมือนมีฉากที่ “ยิงธีม” ตรงนี้อย่างตรงไปตรงมามาก ๆ นะ นั่นก็คือฉากที่ “มดตัวน้อยกระเสือกกระสนต่อสู้กับหยดน้ำ” ซึ่งถึงแม้ว่าฉากนี้อาจจะ “ตรงไปตรงมา” มากไปหน่อย แต่เราก็ให้อภัย เพราะเรารู้สึกว่าฉากนี้นี่แหละนำเสนอ “ชีวิตของเรา” ได้อย่างถูกต้องตรงเผงที่สุด 555

 

คือดูฉากนี้แล้วนึกถึงชีวิตตัวเองอย่างสุด ๆ น่ะ เหมือนเจอแต่ปัญหาที่ทำให้เราคิดที่จะฆ่าตัวตายตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น เหมือนช่วงอายุราว ๆ 12-22 ปีนี่เราคิดฆ่าตัวตายนับครั้งไม่ถ้วน และช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี่เราก็คิดฆ่าตัวตายนับครั้งไม่ถ้วนเหมือนกัน ดังนั้นพอเราเห็นมดกับหยดน้ำในฉากนี้ เราก็เลยนึกถึงตัวเองมาก ๆ คือชีวิต/ชะตากรรมมันจะอะไรนักหนากับกูวะ มึงจะบีบให้กูต้องฆ่าตัวตายให้ได้เลยใช่มั้ย เมื่อไหร่มึงจะหยุดเล่นงานกูเสียที มึงหยุดเสียที มึงหยุดได้แล้ว แต่มึงยังไม่หยุดใช่มั้ย งั้นกูก็จะสู้ต่อไปอีกหนึ่งวันก็แล้วกัน กูจะทนมีชีวิตต่อไปอีกหนึ่งวันต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่ากูจะรู้สึกไม่ไหวแล้วกูค่อยฆ่าตัวตาย

 

สรุปว่า เรารู้สึกว่าชีวิตเราเหมือนกับมดในฉากนั้นมาก ๆ ชีวิตมันเต็มไปด้วยความทุกข์ อุปสรรค เหี้ยห่าสาระพัดสาระพัน แต่เราก็จะพยายามทำแบบมดในฉากนั้นนะ จะพยายามกระเสือกกระสนต่อไปเท่าที่เราจะยังพอมีแรง หมดแรงเมื่อไหร่ค่อยฆ่าตัวตาย

 

4.จริง ๆ แล้วเรารู้สึกว่า MAD FATE มันคือ “หนังสอนธรรมะ” มาก ๆ เหมาะจะเปิดในวิชาพุทธศาสนา หรือใช้สอนธรรมะให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนประถม, โรงเรียนมัธยมดู ถึงแม้ว่าหน้าหนังมันจะเต็มไปด้วยอะไรที่ชั่วร้ายเลวทรามก็ตาม

 

คือเราไม่รู้ว่าหนังตั้งใจอย่างนี้หรือเปล่านะ แต่เรารู้สึกว่าตัวละคร Siu-tung (Lokman Yeung) จริง ๆ แล้วมันเป็นเพียงแค่ exaggeration ของคนปกติธรรมดานี่แหละที่เผชิญกับ temptation ให้ทำผิดทำบาปตลอดเวลา คือถ้าหากเขาสร้างหนังเกี่ยวกับ “เด็กมัธยมที่ต้องเผชิญกับทางเลือกตลอดเวลาว่าจะ อ่านหนังสือเรียน หรือว่าจะเล่นเกมคอมพิวเตอร์” มันก็จะกลายเป็นหนังสั่งสอนศีลธรรมที่น่าเบื่อสุด ๆ ในทันที แล้วเราก็จะรู้สึกต่อต้านหนัง รู้สึกว่าหนังมันเต็มไปด้วยทัศนคติอนุรักษ์นิยม โบราณคร่ำครึ มึงจะมาสั่งสอนกูทำไม อะไรทำนองนี้

 

เพราะฉะนั้นตัวละคร Siu-tung มันก็เลยเป็นตัวละครที่เผชิญกับทางเลือกตลอดเวลาว่า จะฆ่าคนดีหรือไม่ จะฆ่าแมวดีหรือไม่ ก็กูฆ่าคนแล้วมีความสุข กูฆ่าแมวแล้วมีความสุข แล้วชะตากรรมก็อาจจะกำหนดให้กูเกิดมาเป็นคนที่มีความสุขกับอะไรแบบนี้ ชะตากรรมเสือกกำหนดให้กูเกิดมาเป็นคนแบบนี้เอง แล้วชะตากรรมก็แม่งชอบเปิดโอกาสให้กูได้ฆ่าคนและฆ่าแมวด้วย ชะตากรรมมันเปิดโอกาสให้กูเองนะ, etc.

 

ซึ่งพอมันผลักตัวละคร Siu-tung ไปสุดทางแบบนี้แล้ว เราก็เลยรู้สึกว่าเราไม่ได้กำลังดูหนังสั่งสอนศีลธรรมหรือสั่งสอนตัวเราอย่างตรงไปตรงมาอยู่น่ะ แต่เราว่าจริง ๆ แล้วหนังมันส่งผลกระทบต่อตัวเราในแบบหนังสั่งสอนศีลธรรมเลย แต่มันใช้วิธีการที่แยบยลกว่าและเนียนกว่ามาก ๆ จนเราไม่รู้สึกว่าเรากำลังถูกยัดเยียดศีลธรรมแบบเดิม ๆ อยู่

 

เพราะถึงที่สุดแล้ว หนังก็แสดงให้เห็นว่า Siu-tung สามารถ “เลือก” ได้ในทุก ๆ วินาทีว่า จะต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับ “ความอยากฆ่าคน” ในตัวเองหรือไม่ จะ resist temptation หรือไม่ จะปฏิเสธทุก ๆ โอกาสในการฆ่าคนหรือฆ่าแมวที่ชะตากรรมหยิบยื่นให้หรือไม่ คือถึงแม้ว่าชะตากรรมจะผลักดัน, กระตุ้น และเปิดโอกาสให้เขาฆ่าคนและฆ่าแมวมากเพียงใด แม้ว่าฟ้าจะลิขิตให้เขากลายเป็นฆาตกรต่อเนื่องมากเพียงใด เขาก็สามารถ “เลือก” ได้เองในทุก ๆ วินาทีว่าจะต่อสู้อย่างถึงที่สุดกับ “ความอยาก” ในใจตัวเอง และสามารถปฏิเสธทุก ๆ โอกาสในการฆ่าคนและฆ่าแมวที่ “ฟ้า” หรือชะตากรรมพยายามหยิบยื่นให้เขาตลอดเวลา

 

เพราะฉะนั้นในที่สุดแล้ว เราก็รู้สึกว่า พอหนังเรื่องนี้ให้บทสรุปอย่างนี้แล้ว ในแง่หนึ่ง Siu-tung มันก็อาจจะเป็นตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็น exaggeration ของคนธรรมดาทั่วไปนี่แหละ เพราะถึงแม้ว่าฉากหน้าของหนังเรื่องนี้มันเป็นเรื่องของ “คนที่เผชิญกับชะตาฟ้าลิขิต, ฆาตกรต่อเนื่องและความกระหายอยากในใจตัวเองที่จะเป็นฆาตกรต่อเนื่อง” แต่ในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่หนังเรื่องนี้ต้องการจะพูดถึงจริง ๆ ก็อาจจะเป็นเรื่องของคนธรรมดาทั่วไปนี่แหละ คนที่เลือกได้ในทุก ๆ วินาทีว่าจะ “ทำตามความอยากของตัวเองหรือไม่” เขาอาจจะไม่ต้องต่อสู้กับ “ความอยากจะฆ่าคน” เหมือน Siu-tung แต่เขาก็ต้องต่อสู้หรือเผชิญกับ “ความอยากจะทำบางอย่างเพื่อสนองความสุขของตนเอง” ในเกือบ ๆ จะทุก ๆ วินาทีเหมือน Siu-tung เขาอาจจะต้องเลือกว่า จะอ่านหนังสือเรียน หรือไม่อ่านหนังสือเรียน, จะทำงานหรือว่าจะอู้งาน, จะดื่มเหล้าต่อหรือจะหยุดแค่นี้, จะแดกอาหารที่ทำให้อ้วนหรือไม่แดก, จะออกกำลังกายหรือไม่ออกกำลังกาย, จะใส่ถุงยางหรือไม่ใส่, จะใช้ยาเสพติดหรือไม่ใช้ยาเสพติด, จะใช้เงินฟุ่มเฟือยหรือไม่ใช้เงินฟุ่มเฟือย, จะนิ่งเงียบหรือจะลุกขึ้นต่อต้านรัฐบาลเผด็จการ, etc.

 

คือเราว่าคนเราแต่ละคนมันมี devil มีกิเลส มีความอยากในตัวเองที่แตกต่างกันไป และคนเราแต่ละคนก็เลือกได้ในทุก ๆ วินาทีว่าจะต่อสู้กับ “ความอยาก” ในใจตัวเองหรือไม่ เพราะฉะนั้นคนเราแต่ละคนในแง่หนี่งก็ไม่แตกต่างจาก Siu-tung ตรงจุดนี้ เพียงแต่ว่าถ้าหากหนังมันพูดถึง “เด็กที่ต้องเลือกว่าจะตั้งใจอ่านหนังสือเรียน หรือไม่อ่านหนังสือเรียน” หนังมันก็จะเป็นการยัดเยียดศีลธรรมที่น่าเบื่อสุด ๆ เพราะฉะนั้นหนังมันก็อาจจะต้องเลือกผลักตัวละครไปให้สุดทาง สุดโต่งแบบนี้นี่แหละ เป็นกิเลสที่มาในรูปแบบของ “ความอยากจะเป็นฆาตกรต่อเนื่อง” ไปเลย หนังมันก็เลยออกมาดูสนุกสุดขีดสำหรับเรา และพอดูจบแล้ว ได้เห็นบทสรุปของหนังแล้ว เราก็รู้สึกว่าเราได้รับบทเรียนสอนใจที่นำมาใช้ได้กับตัวเราเองในทุก ๆ วัน หรือทุก ๆ วินาทีในชีวิตประจำวัน โดยที่เราไม่รู้สึกว่าเราถูกยัดเยียดศีลธรรมจนน่าเกลียดด้วย

 

5.ชอบการรักษา “สมดุล” ของหนังมาก ๆ เพราะเรารู้สึกว่า จริง ๆ แล้วหนังมันเปิดโอกาสให้เราเชื่อหรือไม่เชื่อใน “สิ่งเหนือธรรมชาติ” ก็ได้

 

คือตอนแรกเรานึกว่า หนังจะบอกให้เราเชื่อในตัวละคร the master (Gordon Lam Ka-tung) นะ เพราะตัวละครนี้เก่งสุด ๆ เหมือนรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ทำนายชีวิตคนอื่น ๆ ได้อย่างถูกต้องตรงเผงมาก ๆ และถ้าหากเราเชื่อตามตัวละครตัวนี้ นั่นก็เท่ากับเราเชื่อว่า “ฟ้า” มีจริง สิ่งเหนือธรรมชาติมีจริง และบางทีมันอาจจะเป็นเรื่องยากในการต่อสู้กับชะตาฟ้าลิขิต

 

แต่ในช่วงท้ายของหนังนั้น หนังแสดงให้เห็นว่า the master กลายเป็นบ้าจนทำร้ายตำรวจและหน่วงเหนี่ยวกักขังตำรวจน่ะ และหนังก็เปิดให้เราเชื่อหรือไม่เชื่อก็ได้ว่า the master ถูก “วิญญาณฆาตกรโรคจิต” เข้าสิง คือเขาอาจจะถูกวิญญาณร้ายเข้าสิงก็ได้ หรือเขาอาจจะกลายเป็นบ้าไปเองก็ได้ เหมือนหนังจะเปิดโอกาสให้เราเชื่อแบบไหนก็ได้ทั้งสองทาง

 

เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้อาจจะมีทัศนคติสอดคล้องกับเราก็ได้ เพราะหนังมันไม่ได้ “เชิดชู” ตัวละคร the master มากเกินไป และ ไม่ได้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าสิ่งเหนือธรรมชาติมีจริง คือเหมือนหนังอาจจะบอกเราก็ได้ว่า สิ่งเหนือธรรมชาติอาจจะมีจริง, “ดวง” อาจจะมีจริง, ชะตาชีวิตคนอาจจะถูกกำหนดไว้แล้วก็จริง แต่ก็อาจจะถูกกำหนดไว้เพียงบางส่วนเท่านั้นก็ได้ บางทีชะตาชีวิตคนอาจจะถูกกำหนดไว้เพียงแค่ครึ่งเดียวก็ได้ อย่างเช่นหยดน้ำที่กระเด็นใส่มด, ความกระหายอยากจะฆ่าคนในใจของ Siu-tung หรือโอกาสต่าง ๆ ที่ Siu-tung สามารถฆ่าคนหรือฆ่าแมว แต่ Siu-tung ก็สามารถเลือกเองได้ในทุก  ๆ วินาทีว่าจะออกไปฆ่าคนหรือฆ่าแมวหรือไม่ นั่นก็หมายความว่า Siu-tung สามารถกำหนดชะตาชีวิตของตนเองได้ด้วยเช่นกัน ฟ้าอาจจะกำหนด “ความอยาก” แบบนี้มาให้ตัวคุณตั้งแต่เกิด แต่คุณก็ต่อสู้กับ “ฟ้า” หรือ “โชคชะตา” ได้ ด้วยการเลือกที่จะต่อสู้กับ “ความอยาก” ในใจคุณเอง

 

คือเราว่าถ้าหากหนังมันเชิดชูตัวละคร the master ว่าเป็นพระเอก แบบไม่มีข้อเสียเลย เราก็คงไม่ชอบหนังมากเท่านี้น่ะ เพราะมันเท่ากับเป็นการบอกว่า เราต้องยอมแพ้ “ดวง”, เราต้องไปทำพิธีแก้ดวง อะไรทำนองนี้ แต่เหมือนหนังมันบอกว่า สิ่งเหนือธรรมชาติมันอาจจะมีจริง แต่คุณสู้กับมันได้ และถ้าหากคุณเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติมากเกินไป คุณอาจจะกลายเป็นบ้าแบบ the master ก็ได้ เราก็เลยรู้สึกว่า การที่หนังทำให้ตัวละคร the master กลายเป็นบ้า และไม่เชิดชูตัวละครตัวนี้มากเกินไป มันเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับทัศนคติของเรามาก ๆ

 

6.คือแค่ 10 นาทีแรกของหนัง เราก็กรีดร้องสุดเสียงแล้ว เพราะรู้ได้ในทันทีว่า นี่คือหนังที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ เพราะใน 10 นาทีแรกนั้น คนดูได้รู้จักกับ the master ซึ่งเป็นหมอดูที่ “เก่งมาก แต่เหมือน ๆ จะเป็นคนวิกลจริต” และคนดูได้เจอกับ “ฆาตกรโรคจิตหนุ่ม” คือพอเจอ 2 ตัวละครนี้ เราก็นึกว่า มันน่าจะเป็นหนังแนวฆาตกรโรคจิตห้ำหั่นกับหมอดูที่เก่งฉกาจ อะไรทำนองนี้ แต่ปรากฏว่าหนังมันกลับเหนือชั้นขึ้นไปอีก ด้วยการสร้างตัวละคร Siu-tung ขึ้นมาเป็นตัวละครนำอีกด้วย และเป็นตัวละครที่มีความอยากจะเป็นฆาตกรต่อเนื่องซ่อนอยู่ในใจตัวเอง

 

คือพอหนังแสดงให้เห็นว่า Siu-tung มีปฏิกิริยาอย่างไรกับฉากการฆาตกรรม เขาดูเหมือนหลงใหลในการฆาตกรรม เราก็รู้ได้ในทันทีว่า MAD FATE มันเหนือชั้นกว่าหนัง horror ฆาตกรโรคจิตโดยทั่วไปเป็นอย่างมาก เพราะมันไม่ได้เป็นเพียงหนัง “ฆาตกรโรคจิตต่อสู้กับคนดี/ตำรวจ” แบบหนัง horror ทั่วไป แต่มันเป็นหนังที่นำเสนอตัวละครชายหนุ่ม 3 คนที่ “ไม่มีใครปกติ” เลยสักคน ทั้งหมอดูที่เก่งฉกาจแต่วิกลจริต, ฆาตกรโรคจิต และชายหนุ่มที่อยากจะเป็นฆาตกรโรคจิต

 

7.คือพอดูแค่ 10 นาทีแรก เราก็หวีดร้องสุดเสียงในใจเราเลย เพราะมันเหนือความคาดหมายมาก ๆ ในแบบที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ และเราว่าหนังมันก็สนุกสุดขีดด้วยสำหรับเรา และพอเราเจอฉาก “มดต่อสู้กับหยดน้ำ” เข้าไป เราก็หวีดร้องหนักขึ้นไปอีก เพราะนี่มันคือชีวิตเราเลย และพอหนังมันพลิกให้ the master กลายเป็นบ้า กลายเป็นคนที่เชื่อถือไม่ได้เสมอไปในช่วงท้ายเรื่อง เราก็หวีดร้องหนักขึ้นไปอีก เพราะมันตรงกับทัศนคติของเราที่ว่า เราไม่ควรเชื่อ “ดวง” มากเกินไป แต่เราควรทำทุก ๆ วินาทีของตัวเองให้ดีที่สุด

 

8.ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง FEBRUARY (2015, Oz Perkins) มาก ๆ ด้วย เพราะเราว่าตัวละคร Siu-tung ก้บนางเอกของ FEBRUARY เหมือนเป็นญาติห่าง ๆ กัน คือเราว่านางเอกของ FEBRUARY ก็เหมือน struggle กับความเป็นฆาตกรโรคจิตในใจตัวเองน่ะ แต่นางเอกของ FEBRUARY โชคร้ายกว่า Siu-tung เพราะนางเอกของ FEBRUARY ไม่มี the master มาคอยให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้กับด้านมืดในใจตัวเอง

 

9.คือพอดู “ฉากมด” ใน MAD FATE แล้ว เราก็ชอบจินตนาการเล่น ๆ ว่า บางทีตอนจบของ MAD FATE ควรจะใช้เพลงประกอบเป็น “ต้องสู้จึงจะชนะ” ของเจินเจิน บุญสูงเนิน เพราะในแง่หนึ่งเราว่าเนื้อเพลง “ต้องสู้จึงจะชนะ” ของเจินเจิน มันเข้ากับเนื้อหาของ MAD FATE ในระดับนึง โดยเฉพาะ “ฉากมด” เพราะ “มด” ในหนังเรื่องนี้นี่มันคือนิยามของ “ต้องสู้จึงจะชนะ” ของจริง 55555

https://www.youtube.com/watch?v=-FPmyTx4n8Q

 

10. สรุปว่าตอนนี้ MAD FATE ครองอันดับหนึ่งหนังที่เราชอบที่สุดที่ได้ดูตั้งแต่ต้นปี 2023 (แต่ยังเหลืออีก 2 เดือนนะก่อนจะสิ้นปี) เพราะเหตุผลต่าง ๆ ที่กล่าวมา โดยเฉพาะการที่หนังเรื่องนี้สะท้อนชีวิตของเรา (โดยเฉพาะฉากมด), ดูแล้วได้แง่คิดคติสอนใจที่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน, หนังเรื่องนี้สอดคล้องกับทัศนคติของเรา และดูเหมือนจะพูดถึงประเด็นที่เราสนใจ ทั้งเรื่องของ “ฟ้า”, “พระเจ้า”, “พลังวิเศษในจักรวาล”, ความโหดร้ายของฟ้า/พระเจ้า/จักรวาล, ชะตาชีวิตมนุษย์, มนุษย์มี “ทางเลือก” จริง ๆ หรือไม่ถ้าหากพระเจ้ามีจริง หรือถ้าหากชีวิตถูกลิขิตไว้แล้วล่วงหน้า และเราควรทำอย่างไร ถ้าหากชีวิตมันเหี้ยมาก ๆ ชีวิตมันจัญไรสัส ๆ ชีวิตเต็มไปด้วยอุปสรรค พระเจ้ากลั่นแกล้งเรา หรือพระเจ้าดูเหมือนจะเปิดโอกาสให้เราเลือกจะทำตาม “ความอยาก” ของตัวเองในทุก ๆ วินาทีเสียเหลือเกิน

 

บันทึกฝัน

 

เมื่อคืนนี้ก็ฝันประหลาด ฝันว่ายืนอยู่หน้าอาคารเก่า ๆ แห่งนึงในกรุงเทพ เหมือนรอรถเมล์ แต่ไม่มีรถเมล์มา มีแต่รถบัสคันใหญ่  ๆ สีชมพูบรรทุกผู้โดยสารทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจำนวนมากแล่นผ่านไปผ่านมา ซึ่งเราก็งงว่ารถบัสสีชมพูนี้มันใช่รถเมล์หรือเปล่า แต่มันไม่มีตัวเลขบอกว่านี่เป็นรถเมล์สายอะไร รู้แต่ว่ามันเป็นรถบัสสีชมพูบรรทุกผู้โดยสารจำนวนมากแล่นผ่านไปผ่านมาหลายคัน

 

เราปวดฉี่ ก็เลยจะเข้าห้องน้ำในอาคารเก่าแห่งนั้น ตอนราว ๆ 2 ทุ่ม แต่มีฝรั่งเดินออกมาจากห้องน้ำ บอกเราว่าอย่าเข้าห้องน้ำในตึกนี้ มันมีผีหลอก เป็นผีของ Maire Brennan แล้วผีพูดได้แต่ภาษาไอริช พูดภาษาอังกฤษไม่ได้ ส่วนตัวเขานั้นก็พูดภาษาไอริชไม่ได้เช่นกัน เขาเลยสื่อสารกับผี Maire Brennan ไม่รู้เรื่อง ไม่รู้ว่าผีต้องการอะไร มาหลอกคนเพื่อสาเหตุอะไรกันแน่ แต่ถ้าหากอยากเข้าห้องน้ำ ให้เอาเพลงของวง Clannad หรือเพลงของ Maire Brennan ไปเปิดในห้องน้ำด้วย จะได้สร้างความพึงพอใจให้แก่ผีได้ เผื่อจะได้เข้าห้องน้ำได้

 

แล้วเราก็ตื่นนอน แล้วก็งงว่าฝันนี้มันมาจากไหน มันมาได้ยังไง Maire Brennan ตัวจริงก็ยังไม่ได้ตายซะหน่อย 55555

 

FOND MEMORY OF THE LONELINESS OF CINEPHILES IN THAI SHORT FILM FESTIVALS IN THE DISTANT PAST

 

เห็น FILMSICK ถามเราว่า ตัว FILMSICK เองเคยดูหนังในเทศกาลหนังสั้นครั้งแรกเมื่อไหร่ เราก็เลยขอตอบว่า น่าจะเป็นครั้งที่        10 มั้ง ซึ่งจัดขึ้นในปี 2006 ตอนนั้นงานเทศกาลหนังสั้นรอบมาราธอนจัดขึ้นที่ TK PARK ในห้างเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ หรือ CENTRAL WORLD ในปัจจุบัน ส่วนเทศกาลหนังสั้นรอบที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วจัดฉายที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ ซอยทองหล่อ ซึ่งเราจำได้ว่า filmsick มาดูกับเราที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ในบางครั้ง และเรายังจำบทสนทนาของเรากับ filmsick ในปี 2006 ได้ดี เพราะตอนนั้น filmsick คุยกับเราว่า ดีใจที่มีเรามาดูด้วย เพราะไม่งั้น filmsick จะรู้สึกโดดเดี่ยวมาก ๆ เพราะในยุคนั้น (ปี 2006) คนส่วนใหญ่ที่มาดูหนังในเทศกาลหนังสั้นรอบประกวด มีแต่ “ผู้กำกับหนังสั้นกับกลุ่มเพื่อน ๆ ของเขา” และ “นักศึกษามหาลัย โดยเฉพาะนักศึกษาด้านภาพยนตร์” เป็นส่วนใหญ่ หรือไม่ก็นักวิจารณ์มืออาชีพและคนในวงการภาพยนตร์ แต่แทบไม่มี “cinephile ที่ไม่ได้ทำหนังสั้น” อย่างเรามาดูเลย คือในยุคนั้นคนดูที่เป็น cinephiles แต่ไม่ได้เป็น “filmmakers, friends of filmmakers หรือ filmmaking students” มีน้อยมาก ๆ แต่โชคดีที่ยุคปัจจุบันคนดูกลุ่ม cinephiles มีมากขึ้นเรื่อย ๆ แล้ว และเราก็เห็น cinephiles หลาย ๆ คนเขียนถึงหนังสั้นไทยใน Facebook ด้วย ซึ่งก็เป็นหนึ่งในพัฒนาการที่น่าดีใจ และทำให้เรารู้สึกไม่โดดเดี่ยวเหมือนแต่ก่อน

 

สาเหตุที่เราจำบทสนทนาในปี 2006 ได้ดี เพราะเราเองก็รู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน 55555 เพราะเราเองก็ไปดูหนังในเทศกาลหนังสั้นตั้งแต่ปีแรกในวันที่ 16-17 ส.ค. 1997 ที่สถาบันปรีดี พนมยงค์ และก็ยอมรับว่ารู้สึกโดดเดี่ยวตั้งแต่ปีแรก ๆ 55555 เพราะเราเป็นคนนอกวงการโดยสิ้นเชิง เราไม่เคยเรียนภาพยนตร์, ไม่เคยลงคอร์สเรียนด้านภาพยนตร์ และไม่ได้กำกับภาพยนตร์ เหมือนเรามาดูเทศกาลหนังสั้นเพียงเพราะเราชอบดูหนัง แต่ก็พบว่าเราแทบไม่รู้จักคนดูส่วนใหญ่ในงานเลย เหมือนคนดูส่วนใหญ่ในงานน่าจะเป็นผู้กำกับหนังสั้นกับกลุ่มเพื่อน ๆ ของเขา มีแต่เรากับผู้ชมคนอื่น ๆ อีกไม่กี่คนมั้งที่เป็นแบบ “ข้ามาคนเดียว” อะไรแบบนี้

 

แต่ถึงแม้เราจะรู้สึกโดดเดี่ยว เราก็ไม่แคร์และไม่รู้สึกว่ามันเป็นอุปสรรคแต่อย่างใดนะ เพียงแต่รู้สึกว่าเราแปลกกว่าผู้ชมส่วนใหญ่ในงานตรงจุดนี้แค่นั้นเอง เราก็เลยไปดูเทศกาลหนังสั้นได้ทุกปีโดยไม่แคร์อะไรตรงจุดนี้

 

ซึ่ง “ความรู้สึกโดดเดี่ยว” ของ cinephile อย่างเรา มันจะถูกกระตุ้นให้รู้สึกอย่างรุนแรงตอน “ช่วงพักระหว่างรอบฉายแต่ละรอบ” น่ะ คือเวลานั่งดูหนังมันไม่รู้สึกอะไรหรอก เพราะทุกคนก็นั่งดูเงียบ ๆ กันไป แต่ในช่วงเวลาพักระหว่างรอบฉายแต่ละรอบนั้น คนดูที่เป็น “ผู้กำกับหนังสั้นกับกลุ่มเพื่อน ๆ ของเขา” ก็จะออกมาสรวลเสเฮฮากันด้านนอกโรงระหว่างรอบฉาย ส่วนเราซึ่งมาคนเดียวก็จะได้แต่ยืนอยู่เงียบ ๆ รอรอบฉายรอบถัดไป ซึ่งช่วงเวลานั้นมันจะเป็นช่วงที่รู้สึกโดดเดี่ยวมาก ๆ และสิ่งที่สำคัญก็คือว่า ในปี 1997-2006 นั้น มันยังไม่มี smart phone ด้วย เพราะฉะนั้นในระหว่างที่เรารอรอบฉายแต่ละรอบ เราก็ไม่สามารถไถ smart phone ดูเฟซบุ๊คอะไรได้เลย สิ่งที่เราทำได้ก็มีแค่ยืนเงียบ ๆ หรือนั่งเงียบ ๆ ดูกลุ่มผู้กำกับหนังสั้นกับเพื่อน ๆ ของเขาสรวลเสเฮฮาอะไรกันไป

 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ filmsick คุยกับเราในเทศกาลหนังสั้นปี 2006 เราก็เลยจำได้ดีถึงแม้มันจะผ่านมานาน 17 ปีแล้ว เพราะเราเองก็รู้สึกแบบนั้นมาโดยตลอดในปี 1997-2006 เหมือนกัน 55555

 

แต่ความรู้สึกโดดเดี่ยวนี้ก็หายไปในปี 2007 นะ เพราะในปี 2007 มีการจัดเทศกาลหนังสั้นรอบมาราธอนที่ภัทราวดีเธียเตอร์ และ filmsick กับเพื่อน ๆ บางคนและเราไปดูหนังสั้นรอบมาราธอนกันในงานนั้น ซึ่งพอไปกันเป็นกลุ่ม ๆ มันก็ไม่รู้สึกโดดเดี่ยว

 

และตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป เพราะมี cinephiles มาดูหนังสั้นเป็นประจำบ่อยมาก ๆ โดยเฉพาะเมอฤดี และ “คณะยอดเซียนซักแห้ง” ซึ่งถึงแม้พวกเขาจะกำกับภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน แต่พวกเขาก็มาดูหนังในฐานะ cinephiles ไม่ได้มาดูหนังในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ เพราะคนดูประเภท “ผู้กำกับภาพยนตร์กับกลุ่มเพื่อน ๆ ของเขา” หลายคนมักจะมาดูหนังเฉพาะในรอบที่หนังของตัวเองหรือหนังของคนรู้จักได้ฉายเท่านั้น ในขณะที่ cinephiles หรือผู้กำกับภาพยนตร์ที่เป็น cinephiles ด้วยนั้น จะดูหนังในรอบอื่น ๆ ที่เป็นของผู้กำกับที่ตนเองไม่รู้จักด้วย ซึ่งเมอฤดี, คณะยอดเซียนซักแห้ง, ตี้ ชญานิน และ cinephiles คนอื่น ๆ ก็มาดูหนังกันหลาย ๆ รอบในรอบมาราธอนตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา เราก็เลยไม่เคยรู้สึกโดดเดี่ยวอีกต่อไปนับตั้งแต่นั้น 55555

 

 ----------

ในขณะที่หนังหลาย ๆ เรื่องในอดีตของคุณ “วีระ รักบ้านเกิด” นั้น เกี่ยวกับ “ชายหนุ่มที่พยายามจะลืมสาวคนรัก” (แต่เราไม่ได้ดูหนังของคุณวีระ รักบ้านเกิดในปีนี้นะ เราก็เลยไม่รู้ว่าหนังใหม่ของเขามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร) แต่ในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนปีนี้เรากลับพบว่ามีหนังเกี่ยวกับ “หญิงสาวที่พยายามจะลืมชายคนรัก” หลายเรื่องเหมือนกัน ราวกับว่าเป็นการ respond ต่อหนังหลาย ๆ เรื่องของคุณวีระ รักบ้านเกิดโดยไม่ได้ตั้งใจ 55555 ซึ่งหนังเกี่ยวกับหญิงสาวที่พยายามจะลืมชายคนรักในปีนี้ ก็มีอย่างเช่น

 

 

1.HOW TO FIX A BROKEN HEART (อัณณา โพธิชา, A+30)

 

2. HOW TO FORGET ABOUT MY EX BOYFRIEND (กิตติรักษ์ คงอาวุธ, A-)

 

3. MAYBE, NEVER ครั้งหนึ่งที่เราเคยรักกัน (อมิตา งามสินจำรัส, A+15)

 

4.MEMORY (มูนา อัลรุไดนี, A+)

 

 -------------

FAVORITE SCENE

 

4. ฉากวนลูปคุณแม่เปิดประตูมาทักทายแขกในบ้านผีสิงใน MINNA NO UTA หรือ SANA (2023, Takashi Shimizu, Japan, A+30)

 

เราชอบฉากนี้อย่างสุด ๆ เพราะว่ามันทำให้เรานึกถึงหนังที่เราชอบสุดขีด 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ

 

4.1 ในครั้งแรกที่ฉากนี้ปรากฏบนวนลูปในบ้านผีสิงนั้น มันทำให้เรานึกถึง CELINE AND JULIE GO BOATING (1974, Jacques Rivette) ที่ฉากในอดีตบางอย่างจะปรากฏขึ้นซ้ำไปซ้ำมาในบ้านผีสิง

 

4.2 แต่ที่เฮี้ยนสุดขีดก็คือว่า ถึงแม้ตัวละครจะออกจากบ้านผีสิงไปแล้ว และตัวละครกลับมาที่โรงแรม ฉากคุณแม่เปิดประตูวนลูปไปมา ก็ยังตามมาปรากฏแบบราง ๆ ในห้องพักในโรงแรมของตัวละครด้วย ซึ่งเรารู้สึกว่ามันหลอนสุดขีดมาก ๆ

 

การที่ “ฉากวนลูป” ในสถานที่ผีสิง มันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่ในสถานที่ผีสิง แต่สามารถติดตามตัวละครไปในสถานที่อื่น ๆ อันห่างไกลได้ด้วยนั้น ทำให้เรานึกถึง DOCTOR SLEEP (2019, Mike Flanagan) ซึ่งถือเป็น one of my most favorite films of all time เหมือน CELINE AND JULIE GO BOATING

 

นอกจากฉากคุณแม่เปิดประตูวนลูปแล้ว เราก็ชอบ MINNA NO UTA ทั้งเรื่องด้วย เพราะว่า

 

1.หนังมันเต็มไปด้วยหนุ่มหล่อน่ากินมากมาย

 

2.เราเดาว่ามันน่าจะเป็นหนังทำเพื่อโปรโมทวง GENERATIONS ซึ่งการทำหนังโปรโมทวงดนตรีอะไรสักวง แล้วทำออกมาได้แบบนี้ เราว่ามันประสบความสำเร็จอย่างมากสำหรับเรานะ 5555 เพราะเราเองไม่เคยรู้จักวงนี้มาก่อน แล้วพอดูหนังเรื่องนี้เราก็หลงรักหนุ่ม ๆ ในวงนี้ไปเลย และก็เพลิดเพลินกับตัวหนังด้วย

 

ซึ่งขั้วตรงข้ามของ “หนังที่ทำขึ้นเพื่อโปรโมทวงดนตรี” แบบนี้ ก็คือ “ไทบ้าน x BNK 48 จากใจผู้สาวคนนี้” (2020, สุรศักดิ์ ป้องศร, ธิติ ศรีนวล) เพราะอันนั้นเราถือว่าเป็น “หนังโปรโมทวงดนตรี” ที่ล้มเหลวสุด ๆ 555

 

3.จริง ๆ แล้วเราก็ไม่แน่ใจหรอกว่าหนังมันตั้งใจแบบนี้หรือเปล่า แต่เราชอบสุด ๆ ที่หนังเรื่องนี้มันทำให้เราคิดขึ้นมาได้ว่า “การที่เพลงบางเพลงมันติดอยู่ในหัวของเรา” มันเหมือนกับ “การที่ผีตามหลอกเราอย่างไม่สิ้นไม่สุด” น่ะ หรืออย่างฉากคุณแม่วนลูปที่ตามมาหลอกถึงโรงแรมนั้น มันก็เหมือนกับ “การที่เราได้เห็นฉากบางฉากในหนัง หรือได้เห็นเหตุการณ์จริง ๆ บางเหตุการณ์ แล้วมันติดอยู่ในหัวเรา” การที่เราสลัดภาพที่เราได้เห็นไปไม่หลุด ก็คล้าย ๆ กับการที่ผีตามมาหลอกหลอนเราเหมือนกัน

 

คือเราชอบ “หนังผี” หรือ “หนังสยองขวัญ” บางเรื่องตรงจุดที่มันสามารถนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์หรือเทียบเคียงกับอะไรบางอย่างในชีวิตประจำวันได้น่ะ ซึ่งเราเองก็เป็นคนที่ชอบมี “เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัว” หรือ “นึกถึงฉากบางฉากจากหนังบางเรื่อง” อยู่เป็นประจำ เราก็เลยชอบสุด ๆ ที่ MINNA NO UTA มันเหมือนเอา “อาการที่เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัว” ของคนอย่างเราในชีวิตประจำวัน มาดัดแปลงเป็น “การถูกผีตามหลอกตามหลอน”

 

และเราก็ชอบด้วยที่หนังมันบอกว่า ผีซานะมันต้องการดึงคนอื่น ๆ ให้หลุดเข้าไปในโลกของเธอเองผ่านทางเสียงเพลงของเธอ เพราะเรารู้สึกว่า “การที่เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัว” ของเรานั้น มันทำให้เรา “ตกอยู่ในภวังค์” หรือ “ลดทอนการสัมผัสรับรู้สิ่งอื่น ๆ รอบตัวในชีวิตจริงในชั่วขณะนั้น” น่ะ มันเหมือนกับการที่เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัวของเรานั้น มันทำให้เราต้องแบ่งโสตประสาทส่วนหนึ่ง แบ่งดวงจิตส่วนหนึ่งของเราไปฮัมเพลงนั้น ไปร้องเพลงนั้นในหัวของเราในช่วงเวลานั้น ๆ ด้วย และมันส่งผลลบต่อประสาทสัมผัสรับรู้ความเป็นจริงรอบตัวเราในช่วงเวลานั้นไปด้วย มันก็เลยคล้าย ๆ กับการถูกดูดเข้าไปในโลกของเสียงเพลงนั้นในแง่หนึ่ง

 

4.เราก็เลยรู้สึกว่ามันดีงามสุดขีดที่ MINNA NO UTA สามารถดัดแปลง “การที่เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัวของเรา” มากลายเป็นหนังสยองขวัญอะไรแบบนี้ได้ ซึ่งก่อนหน้านี้เหมือนมีหนังเพียงแค่ไม่กี่เรื่องเท่านั้นมั้งที่พูดถึง “การที่เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัวของเรา” ถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังเรื่อง INSIDE OUT (2015, Pete Docter, Ronnie Del Carmen) หรือเปล่าที่พูดถึงประเด็นนี้ เหมือนตัวละครต้องร้องเพลงเก่า ๆ เพื่อจะได้หลุดออกจากดินแดน MEMORY DUMP และหนังเรื่อง UP, DOWN, FRAGILE (1995, Jacques Rivette, 169min) ที่ตัวละคร Ida (Laurence Côte) ใช้ “เพลงที่ติดอยู่ในหัวของเธอ” เป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบหาว่าใครคือแม่ที่แท้จริงของเธอ

 

5.เราชอบที่หนังสยองขวัญบางเรื่องใช้ “ผี” เป็นสัญลักษณ์หรือกึ่ง ๆ สัญลักษณ์เพื่อสะท้อนถึงอะไรอย่างอื่น ๆ ในชีวิตประจำวันน่ะ ซึ่งอย่างกรณีของ MINNA NO UTA นั้นมันคือ “การที่เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัว” และเราก็ชอบ IMMERSION (2023, Takashi Shimizu) กับ DEMONIC (2021, Neill Blomkamp) ในแง่คล้าย ๆ กันด้วย เพราะเรารู้สึกราวกับว่า IMMERSION มันพูดถึงเรื่องของ virtual reality ส่วน DEMONIC มันพูดถึง metaverse ซึ่งทั้ง virtual reality และ metaverse มันก็ล้วนเป็นการทำให้เราได้ “เห็นภาพของสิ่งเสมือน สิ่งที่ไม่มีตัวตนเป็นวัตถุอยู่จริงตรงหน้าเรา” เหมือน ๆ กัน คล้าย ๆ กับ “การเห็นผี” เราก็เลยชอบทั้ง IMMERSION และ DEMONIC อย่างสุดขีด เพราะมันเหมือนตั้งข้อสังเกตถึงลักษณะบางอย่างที่น่าสนใจในเทคโนโลยียุคปัจจุบัน และนำสิ่งนั้นมาดัดแปลงเป็นผี/ปีศาจ/หนังสยองขวัญ

 

6.ในบรรดาหนังสยองขวัญ 3 เรื่องนี้ เราอาจจะชอบ DEMONIC มากสุดนะ แต่เราว่า MINNA NO UTA เป็นหนังที่เรานึกถึงบ่อยสุด เพราะว่าเราไม่ได้ใช้เทคโนโลยี metaverse, virtual reality ใด ๆ ชีวิตประจำวันของเรา แต่อาการ “มีเพลงบางเพลงติดอยู่ในหัว” ของเรานี่ คืออาการที่เราเป็นทุกวัน โดยเฉพาะทุก ๆ เช้าตอนตื่นนอน เพราะฉะนั้นนับตั้งแต่เราดูหนังเรื่อง MINNA NO UTA เป็นต้นมา แล้วเราพบว่าเรามีอาการ “เพลงบางเพลงติดอยู่ในหัวของเรา” เหมือนอยู่ดี ๆ เราก็นึกถึงเพลงบางท่อนขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ เราก็เลยจะนึกถึงหนังเรื่อง MINNA NO UTA ตามไปด้วย 55555

 

7.เพลงที่ติดอยู่ในหัวของเราโดยไม่มีสาเหตุในช่วงนี้

 

7.1 PART OF ME, PART OF YOU (1991, Glenn Frey)

https://www.youtube.com/watch?v=bmolOw2WUCg

 

7.2 YASEI NO KAZE (1987, Miki Imai)
https://www.youtube.com/watch?v=iOIsg-OiKCo

 

7.3 SEKAIJU NO DARE YORI KITTO (SURELY MORE THAN ANYONE IN THE WORLD) (1992, Miho Nakayaman/Wands)

https://www.youtube.com/watch?v=SSMcg9ZjqoE

 

7.4 DON’T WANNA CRY (1996, Namie Amuro)
https://www.youtube.com/watch?v=UpKYDhWLDIY

 

7.5 LIAR (1989, Akina Nakamori)

https://www.youtube.com/watch?v=R3pM65m1Qjo

 

ซึ่งเราไม่สามารถให้คำตอบ ไม่สามารถหาสาเหตุใด ๆ ทั้งสิ้นได้ว่า เพราะเหตุใดเพลง 5 เพลงนี้ถึงติดอยู่ในหัวของเราอย่างสลัดไม่หลุด โดยเฉพาะในช่วงที่เราตื่นนอนตอนเช้า ทำไมเพลงอื่น ๆ ที่เราชอบอย่างสุดขีดถึงไม่ติดอยู่ในหัวของเรา มันเป็นเพราะอะไร ทำไม เราก็เลยชอบหนังเรื่อง MINNA NO UTA ในแง่นี้มาก ๆ ที่มันเหมือนเอาอาการแบบนี้ไปดัดแปลงเป็น “ผีที่มาคอยตามหลอกตามหลอน” 55555

 

 

No comments: