--น่าสนใจดีว่าในขณะที่ปีนี้มีหนังหลายเรื่องที่เกี่ยวกับ “หญิงสาวสองคน”
แต่หนังแต่ละเรื่องในกลุ่มนี้ก็มีความโดดเด่นแตกต่างกันไป
หนังหลายๆเรื่องในกลุ่มนี้อาจจะทำให้นึกถึง MARY IS HAPPY, MARY IS HAPPY (2013, Nawapol
Thamrongrattanarit) แต่ก็มีบางเรื่องในกลุ่มนี้ที่มีความแปลก
แตกต่าง เป็นตัวของตัวเอง และอาจจะทำให้นึกถึงหนังเกี่ยวกับหญิงสาวสองคนเรื่องอื่นๆโดยที่ผู้กำกับอาจจะไม่ตั้งใจก็ได้
อย่างเช่นเรื่อง ANOTHER YOUNIVERSE จักรวาลของปรายแสง
(Tinnashire Mongkolmont) ที่ฉากสองสาวเจอกันที่ม้านั่งที่สวนสาธารณะ
และความพิสดารของหนัง ทำให้นึกถึง CELINE AND JULIE GO BOATING (1974,
Jacques Rivette) ในขณะที่หนังสองสาวบางเรื่องก็ทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง
W (Chonlasit Upanigkit) และ DAISIES (1966, Vera
Chytilova) และในวันนี้เราก็ดีใจมากที่ได้พบกับหนังสองสาวอีกเรื่องหนึ่งที่ทำออกมาได้น่าประทับใจมาก
ซึ่งก็คือเรื่อง IF YOU’RE A BIRD, I’LL BE YOUR SKY (วิสุตา
มาถนอม, A+30) ที่ไม่ได้พาดพิงถึง MARY IS HAPPY,
MARY IS HAPPY แต่กลับทำให้นึกถึง ENEMY (2013, Denis
Villeneuve) ซึ่งเป็นหนังที่เราชอบสุดๆ
สิ่งที่ชอบมากใน IF YOU’RE A BIRD, I’LL BE YOUR SKY ก็คือเรื่องของการใช้เพื่อนในจินตนาการเพื่อปลอบประโลมความเหงาในใจตนเองน่ะ
เราว่าหนังถ่ายทอดตรงจุดนี้ออกมาได้เจ็บปวดมากๆ และซึ้งมากๆ และเราก็ชอบที่หนังตั้งคำถามเกี่ยวกับ “การฆ่าตัวตาย”
ด้วย
--หนังอีกเรื่องที่เราชอบมากในวันนี้ คือเรื่อง ARNON FISH (อาทิตย์
ศิริทาวัง, A+15)
เราว่ามันเป็นหนังที่กระตุ้นความคิดเราแบบเดียวกับ THE ASYLUM (Prapat
Jiwarangsan) ที่ฉายเมื่อวานนี้น่ะ เพียงแต่ว่าเรื่องนี้มันไม่ได้เนี้ยบมากนัก
มันเหมือนหนังทดลองแบบบ้านๆดี เราชอบที่ตอนแรกมันดูเหมือนสารคดีบ้าๆบอๆ
ที่คนทำเที่ยวไปถามชาวบ้านว่าจะหาปลาอานนท์ได้ที่ไหน แล้วหลังจากนั้นก็มีฉากพระเอกไปล่องเรือหาปลา
พระเอกไหว้ศาลพระภูมิ แล้วก็กระโดดลงไปในสระน้ำ แล้วก็จมน้ำตายข้างศาลพระภูมิ
คือสรุปว่าเราดูแล้วตอบไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในหนัง
รู้แต่ว่าเราชอบอะไรแบบนี้มากๆ
และไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้วหนังต้องการจะตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อทางศาสนาหรือเปล่า
--ส่วนหนังที่เหมือนเป็นขั้วตรงข้ามกันในวันนี้คือ SEARCHING FOR MANIT (สรศักดิ์ เจริญดำรงเกียรติ, A+15) กับ THE
WAY HOME (Norachai Kajchapanont, A+) เพราะเรื่องแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับพ่อที่กลับมาเยี่ยมบ้าน
แล้วทำให้เกิดการฆาตกรรมอย่างรุนแรง ส่วนเรื่องที่สองเกี่ยวกับพ่อที่ใกล้ตาย
ลูกชายเลยกลับไปเยี่ยมบ้าน และค่อยๆคืนดีกับพ่ออีกครั้ง คือหนังเรื่องแรกมันแสดงให้เห็นถึงความเกลียดชังในครอบครัว
และ “ความไม่สามารถที่จะ reconcile อะไรกันได้อีกต่อไป” ส่วน
THE WAY HOME นี่มันเป็นหนังที่ส่งเสริม reconciliation
มากๆ และบทบาทของพ่อในหนังสองเรื่องนี้ก็ตรงข้ามกันอย่างรุนแรง
แต่สิ่งที่น่าเสียดายก็คือว่า ในขณะที่โครงเรื่องหลักของ SEARCHING FOR MANIT มันเป็นอะไรที่เราชอบในระดับ
A+30 แต่ผู้สร้างหนังกลับเลือก choice ผิดพลาดในบางจุด
โดยเฉพาะในฉากจบที่เรารับไม่ได้อย่างรุนแรง เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ
A+15 เท่านั้น ส่วน THE WAY HOME นั้นโครงเรื่องหลักเป็นอะไรที่เราเกลียดมากในระดับ
F แต่เราว่าผู้สร้างหนัง/ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ตัดสินใจถูกมากใน
choice ด้านการนำเสนอในหลายๆฉาก เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ
A+ ในที่สุด
คือดู SEARCHING FOR MANIT แล้วเราอยากให้เขาเอามาสร้างใหม่
แล้วดัดแปลงให้มันดีๆน่ะ เราอยากให้เขาตัดฉากจบทิ้งไป แล้วก็ให้หนังเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างคุณครูหนุ่มหล่อกับลูกศิษย์หนุ่มแทน
คือเรามองว่า ตัวเด็กหนุ่มของหนังเรื่องนี้เป็นคนที่ขาดพ่อน่ะ เพราะฉะนั้นคุณครูหนุ่มคนนี้
น่าจะทำหน้าที่เป็นเหมือนพ่อของเขาได้ คือเรามักจะชอบหนังเกี่ยวกับ “ครอบครัวที่เราเลือกเอง”
น่ะ เพราะในชีวิตจริง เราไม่สามารถเลือกพ่อแม่พี่น้องได้ มันเป็นสิ่งที่ชีวิตยัดเยียดให้เราโดยที่เราไม่ได้เลือก
แต่ในบางครั้ง ชีวิตก็นำพาเราไปรู้จักคนดีๆ คนที่เราอยากให้เขาเป็น “พ่อ”, “แม่”, “พี่ชาย”
หรือ “น้องชาย” เรา
เพราะฉะนั้นพอเวลาที่เราดูหนังที่มีตัวละครที่มีปัญหาครอบครัวอย่างรุนแรง
และตัวละครดูเหมือนจะได้รับความรักและความใส่ใจอย่างแท้จริงจากคนนอกครอบครัว
อย่างเช่นเรื่อง SEARCHING FOR MANIT เราก็เลยพบว่ามันเข้าทางเรามากๆ
แต่น่าเสียดายที่หนังไปเน้นประเด็นอะไรก็ไม่รู้
หนังมันก็เลยไม่ได้เข้าทางเราซะทีเดียว
สรุปง่ายๆก็คือว่า SEARCHING FOR MANIT มันมีตัวละครที่เข้าทางเรามากๆ
นั่นก็คือตัวละครเด็กหนุ่มที่มีปัญหาครอบครัวอย่างรุนแรง และคุณครูหนุ่มหล่อที่อาจจะใส่ใจเขาอย่างแท้จริง
หรืออาจจะใช้เขาเป็นเครื่องมือสนองอัตตาตัวเองอย่างหนึ่ง
แต่หนังกลับไม่ได้นำตัวละครสองตัวนี้มาใช้ในแบบที่เราต้องการน่ะ
(ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหนังนะ) เพราะสิ่งที่เราต้องการก็คือ
เราอยากให้หนังนำเสนอความสัมพันธ์ที่สนิทแนบแน่นของตัวละครสองตัวนี้
ความสัมพันธ์ของคนที่ไม่ได้เกิดมาในครอบครัวเดียวกัน แต่สามารถทำหน้าที่ต่อกันได้ดีกว่าคนในครอบครัวเดียวกัน
No comments:
Post a Comment