THE WEDDING OF PROUD (2015, Janenarong Sirimaha, A+30) เป็นภาคสามต่อจาก “เรื่องน้ำเน่าของแพรว” (2008) และ “เรื่องน้ำเน่าของพลอย”
(2011) โดยในภาคนี้ทั้งแพรวและพลอยจะมาเจอกัน
หนังมีส่วนที่พิศวงมากๆในช่วงท้ายเรื่อง
เพราะเราจะงงมากๆว่าช่วงครึ่งหลังของหนังมันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ พอหนังจบเราเลยต้องออกมาคุยกับเพื่อนๆหลายคนเพื่อช่วยกันวิเคราะห์ว่าตกลงมันเกิดเหตุการณ์อะไรในหนัง
เราชอบช่วงกลางเรื่องมากที่สุด เรารู้สึกเจ็บปวดมากๆกับเนื้อหาตรงช่วงกลางเรื่องที่นางเอกต้อง
“สร้างเพื่อนชายในจินตนาการ” ขึ้นมาอีกครั้ง
เราเข้าใจความรู้สึกของนางเอกตรงจุดนั้นดี ความรู้สึกของคนที่ผิดหวังกับชีวิตจริง
พยายามหาผัวที่ดีในชีวิตจริง แต่ไม่สำเร็จ และในที่สุดก็ต้องยอมรับว่า
อาจจะมีเพียงแค่โลกจินตนาการเท่านั้นที่จะช่วยปลอบประโลมจิตใจเราได้
รู้สึกเป็นเกียรติมากๆที่เรา, ฟิล์มซิค
กับเมอฤดีได้ร่วมปรากฏตัวหรือเสียงโดยไม่รู้ตัวในหนังเรื่องนี้ด้วย 55555
ชอบ “จริต” (2015, พงพัฒน์ กิตติรงค์, A+25) มากๆตรงที่มันจิกกัดพวกที่สวมชุดไทยเพื่อเอาหน้า,
พวกที่ชอบสร้างภาพ, พวกที่ชอบด่าคนในเน็ตโดยไม่รู้เรื่องจริง
และพล็อตตรงจุดนึงของเรื่องที่ทำให้นึกถึง L’ARGENT (1983, Robert Bresson)
จัดว่าเป็นหนังอีกเรื่องที่สะท้อนผู้หญิงในโลกอินเทอร์เน็ตได้ดีมากเหมือนกับหนังเรื่อง
MS. NARCISSUS (ชนะชัย แสงจันทร์), NICE SHOP (สิวาพรรณ สวนงาม) และ WISH (ขวัญแก้ว จันทร์พวง)
THE YOUNG MAN WHO CAME FROM THE CHEE RIVER (2015, Wichanon
Somumjarn, A+30) ซึ้งมากๆ ชอบหนังมากๆในหลายๆจุด
ทั้งการที่ตัวละครทำอาชีพทวงหนี้, การแสดงให้เห็น dilemma ในใจอย่างรุนแรงของพระเอกที่ประกอบอาชีพนี้
และฉากที่ถ่ายแสงจ้าอย่างรุนแรงจนแทบไม่เห็นตัวคน
ซึ่งเรามองว่ามันสะท้อนความร้อนจนไหม้เกรียมของ “สภาพชีวิต”
ก่อนที่ตัวละครจะต้องไปหาสถานที่ที่ให้ “ความร่มเย็นทั้งกายและใจ” ในตอนจบ
MY DIARY: 3811316 (ไพลิน ชัยนะกุล, A+30) ซึ้งมากๆ และน่าสนใจดีที่ปีนี้มีหนังลาดกระบังที่เราชอบสุดๆเยอะมาก
ทั้งเรื่องนี้, DOGMATIST (ปฏิพล ทีฆายุวัฒน์), OUR
LAST DAY (Rujipas Boonprakong), EM-TRAP (Pruksathip Sawantrat) และ
BLACK-WHITE (Jaturont Jatewiriyanont)
ส่วน I PROMISE TO SEE YOU AGAIN (Anan Chukvarmdee, A-) เป็นหนังที่น่ารักมากๆ
แต่โชคร้ายที่หนังเรื่องนี้ฉายในเทศกาลนี้ในวันนี้
เพราะปีนี้มีหนังในเทศกาลนี้ที่เกี่ยวกับ “เด็กสาวสองคน” และเกี่ยวกับ “เพื่อนในจินตนาการ/เพื่อนที่ตายไปแล้ว”
เยอะมากๆๆ คือถ้าหากเราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาลนี้ในวันแรกๆ เราอาจจะชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้นก็ได้
แต่พอมันมาฉายในวันหลังๆ แล้วมันไม่มีอะไรที่โดดเด่นหรือแตกต่างจากหนังกลุ่มเดียวกันมากนัก
อารมณ์ของเราก็เลยไม่ค่อยพีคกับหนังเรื่องนี้เท่าไหร่จ้ะ แต่ชอบช่วงแรกๆของหนังมากนะ
แต่พอมันจบแบบนั้น
มันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้มันคล้ายกับหนังเรื่องอื่นๆค่อนข้างมากจ้ะ
CHEMO MOM (Chinavorn Nongyao, A+30) รุนแรงมากๆ
น่าเสียดายที่ส่วนที่เป็นบทสัมภาษณ์คุณป้า เสียงของคุณป้าฟังแทบไม่ได้ยินเลย
แต่ช่วงหลังของหนังเจ็บปวดมากๆ
No comments:
Post a Comment