-- UNTIL THE LAST DAY (อาลี ปรียากร, A+20) หนังเรื่องนี้พูดประเด็นเดียวกับหนังสารคดีเรื่อง คนทำบาตร (2014, เอสยาห์
สายศร) แต่ในขณะที่คนทำบาตรเป็นหนังสารคดีแบบตรงไปตรงมา UNTIL THE LAST DAY
กลับมีลักษณะคล้าย video installation คือจริงๆเราชอบหนังสารคดีเรื่อง
“คนทำบาตร” มากๆอยู่แล้ว และเราก็ชอบหนังเรื่อง UNTIL THE LAST DAY มากๆด้วย เพราะมันทำให้เห็นว่า “สื่อภาพเคลื่อนไหว” ที่พูดประเด็นเดียวกัน
สามารถทำออกมาได้หลายรูปแบบ และทรงพลังทั้งคู่
--UNTITLE (รัชพล แสงศรี, ธันยวัตร สัจจะธีระกูล, A+15)
รู้สึกว่าบทสนทนาในหนังเรื่องนี้ไม่ “เปรี้ยง” เหมือนหนังของ Prap
Boonpan แต่ก็รู้สึกดีที่มีคนทำหนังแนว Prap Boonpan อยู่ เพราะคุณ Prap ดูเหมือนจะเลิกทำหนังแนวเน้นบทสนทนาไปแล้ว
--UTOPIA: บ้านใหม่คนใต้สะพาน (Kirimag Boonrom,
documentary, 60min, A+30) ติดอันดับประจำปีของเราอย่างแน่นอน
ดูแล้วแทบร้องไห้ มันหนักมากๆ และมันหนักตรงที่หนังแทบไม่ได้พยายามเร่งเร้าอารมณ์อะไรเราเลย
นอกจากการใช้ดนตรีประกอบที่อาจจะสื่ออารมณ์มากไปนิดนึง เราชอบฉากที่เด็กๆเล่าเรื่องพ่อของตัวเองค้ายาเสพติดด้วยอารมณ์ค่อนข้างร่าเริง,
ฉากที่คุณป้าเล่าด้วยอารมณ์เรียบเฉยว่าตัวเองป่วยและกำลังจะตายในอีก 8
เดือนข้างหน้า, ฉากคุณป้านินทาว่าเพื่อนบ้านค้ายาเสพติด,
ภาพเด็กๆที่เคยอาศัยอยู่ในสลัมในอดีต
ซึ่งทำให้เราจินตนาการว่าปัจจุบันนี้เด็กๆเหล่านี้จะมีชีวิตเป็นอย่างไร,
เรื่องราวของหญิงสาวที่ขอเงินแม่ไปเรียนมหาลัย แต่จริงๆแล้วเธอหนีตามผู้ชาย
แล้วก็ทิ้งแม่ไป, ฉากซาเล้งทะเลาะกับชายชรา, ฉากชายหนุ่มเล่นกีตาร์ ฯลฯ
เราว่าสารคดีเรื่องนี้เรียบเรียงประเด็นได้ดีมาก และจัดว่าเข้าขั้นคลาสสิคเลยสำหรับเราถ้าหากเทียบกับสารคดีไทยด้วยกัน
และสามารถเทียบชั้นกับ “สารคดีชุมชน” ชั้นนำของไทยอย่าง BEHIND THE WALL
(2003, อภิวัฒน์ แสงพัทธสีมา) และ “บ้านไม่มีเลขที่” (2012, Abhichon
Rattanabhayon) ได้ด้วย
--WAKE UP, BRO (อาณัฐ เตรียมจรรยา, ทิฆัมพร รัตนไทรแก้ว,
ตรีวิทย์ วุฒิยานันท์, A+15) ชอบไอเดียของหนังเรื่องนี้มากๆ
แต่ execution ออกมาเป็นภาพยนตร์ได้ไม่ทรงพลังเท่าไหร่
คือเราชอบความสลับซับซ้อนทางโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้มากๆ
คือถ้าทำดีๆมันจะกลายเป็นหนังแนว Alain Robbe-Grillet ได้เลย
แต่น่าเสียดายที่ “รายละเอียดในบท” มันไม่ได้ทรงพลังมากนัก ถึงแม้ว่าโครงสร้างของบทหรือตัวไอเดียหลักของหนังมันเข้าทางเรามากๆก็ตาม
--WHAT A WONDERFUL WORLD (จิรภัทร ทวีชื่น, ธนวัฒน์
นุ่มเจริญ, ภูธน ทองตัน, A+30) เราเข้าใจว่าเป็นหนังที่อาจจะทำขึ้นเพื่อสอนให้นักเรียนรู้จักเก็บขยะ
และรักษาความสะอาด แต่ดูแล้วนึกว่าเป็นหนังที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Vera
Chytilova และ Ingmar Bergman นอกจากนี้
การใช้ soundtrack ของหนังเรื่องนี้ก็รุนแรงมาก
และมันรุนแรงตรงที่มันคาบเกี่ยวระหว่างความเป็น diegetic sound,
non-diegetic sound ด้วย เพราะนางเอกจะมาพร้อมกับเพลงประหลาดๆตลอดเวลา
ซึ่งปกติแล้วเพลงที่ปรากฏพร้อมกับตัวละครแบบนี้มันจะเป็น non-diegetic
sound แต่ปรากฏว่านางเอกหนังเรื่องนี้พกวิทยุธานินทร์ติดตัวไปด้วยตลอดเวลา
มันก็เลยกลายเป็น diegetic sound ในแบบที่พิสดารมากๆ
--WHAT IS HIPSTER (จักรพันธ์ ศรีวิชัย, documentary,
A+20) ชอบคำถามที่ว่า “พระพุทธเจ้าเป็น hipster หรือเปล่า” มากๆ
No comments:
Post a Comment