มีหนังไทยเพียงไม่กี่เรื่องที่เราดูแล้วนึกถึงหนังของ Jean-Luc Godard แต่อย่างน้อยก็มีหนังไทย
3 เรื่องที่ทำให้เรานึกถึง ซึ่งได้แก่เรื่อง “วิธีคิด 1: ทหารลาวขอเปลี่ยนแนวคิดคนไทย”
(2002, Manussak Dokmai), POLITICALLY LAWYER AND
NARRATIVE CINEMA (2009, Chaloemkiat Saeyong) และเรื่องล่าสุดก็คือ
I HATE YOU, BUT I LIKE YOU TO STAY (AKA THE LAST BAD MOVIE) (2015,
Teerath Whangvisarn) รู้สึกดีใจมากๆที่มีคนไทยทำหนังแนว Godard
ออกมา ถึงแม้ว่าผู้กำกับบางคนในกลุ่มนี้จะไม่ได้ตั้งใจอ้างอิง Godard
เลยก็ตาม สิ่งที่ทำให้ I HATE YOU, BUT I LIKE YOU TO STAY ทำให้เรานึกถึงหนังของ Godard ก็คือการที่มันเป็นหนังที่วิพากษ์วิจารณ์+วิเคราะห์การเมืองกับโครงสร้างภาพยนตร์ไปด้วยพร้อมๆกัน,
การที่หลายๆครั้งภาพไม่ได้ทำหน้าที่เล่าเรื่อง และไม่ได้สอดคล้องกับเสียง, เนื้อเรื่องที่ไม่ปะติดปะต่อ,
การใช้ text อย่างรุนแรง, การ quote คำพูดผู้คนมากมาย,
การ quote หนังเรื่องอื่นๆมากมาย, แนวคิดทางการเมืองที่ไปไกลกว่าคนทั่วๆไป
และกระตุ้นให้เราอยากกระโจนเข้าไปในหนังเพื่อถกเถียงกับตัวละครในหนัง
และที่สำคัญที่สุดก็คือการที่หนังกระตุ้นความคิดผู้ชมในทุกๆซีน
และกระตุ้นความคิดผู้ชมผ่านทั้งภาพ, เสียง, บทสนทนา, voiceover, text, การผสมภาพกับเสียงในแต่ละซีน
(เราจะตั้งคำถามในหลายๆซีนว่าทำไมภาพนี้ต้องมาคู่กับเสียงนี้), การเชื่อมโยงระหว่างซีน
(เราจะตั้งคำถามในหลายๆซีนว่า ทำไมซีนนี้ถึงมาต่อกับซีนนี้), การเชื่อมโยง text
กับซีน และการพยายามเชื่อมโยงทุกสิ่งทุกอย่างในหนังเข้าด้วยกัน
หวังว่าธีรัชจะทำหนังแนวนี้ออกมาอีก เพราะเราชอบหนังแบบ GOODBYE TO LANGUAGE (2014,
Jean-Luc Godard) มากๆ และเราเชื่อว่าธีรัชเป็นหนึ่งในผู้กำกับชาวไทยเพียงไม่กี่คนที่สามารถทำหนังที่ทัดเทียมกับหนังเรื่องนั้นออกมาได้
และสิ่งที่สำคัญก็คือ เราหวังว่าธีรัชจะทำหนังออกมาอย่างต่อเนื่องในอนาคต
อย่าได้หายสาบสูญไปจากวงการแบบเฉลิมเกียรติ แซ่หย่องนะจ๊ะ
No comments:
Post a Comment