จำได้ว่า Wiwat Filmsick Lertwiwatwongsa เคยพูดเมื่อประมาณ 5-6 ปีก่อนว่า สิ่งหนึ่งที่ดีมากในเทศกาลมาราธอน
คือเราได้เห็นกระแสสังคมไทยในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาสะท้อนผ่านหนังในเทศกาลนี้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มันจะไม่ปรากฏในหนังใหญ่
เพราะหนังใหญ่แต่ละเรื่องกว่าจะผลิตออกมาเข้าโรงได้มันช้า กระแสสังคมมันผ่านไปแล้ว
เพราะฉะนั้นหนังในเทศกาลมาราธอนนี่แหละที่จะทำหน้าที่เป็นเหมือนอนุทินสะท้อนความเป็นไปของสังคมไทยในแต่ละปี
ซึ่งเป็นสิ่งที่หนังใหญ่ทำไม่ได้ อย่างเช่นเมื่อ 5
ปีก่อนเราจะเห็นหนังเกี่ยวกับเครื่อง “แบล็คเบอร์รี่” อย่างเช่นเรื่อง BEBE (2010, Watcharapol Saisongkroh) และเรื่อง “ความสุขของโบว์โบว์” (2010, Romerun Jongjarb) แต่ดูเหมือนปัจจุบันนี้จะไม่มีใครทำหนังเกี่ยวกับเครื่องแบล็คเบอร์รี่อีกแล้ว
ส่วนในปีนี้เราก็ได้พบหนังที่พูดถึงประเด็นที่ทันสมัยมาก อย่างเช่นหนังสารคดีเรื่อง
HAPPINESS (2015, Wachara
Kanha) ที่สัมภาษณ์อาจารย์ประจักษ์
ก้องกีรติ, หนังสารคดีเกี่ยวกับแก๊งจักรยาน อย่าง LIFE FOR BIKE (ณัฐภัทรพล จุติการพาณิชย์) , หนังที่แอบสะท้อนปัญหาการปล่อยโคมลอยเรื่อง
I’M A BOMBERMAN
EPISODE 1 (ณัฐวุฒิ
ธนเศรษฐทวี), หนังเกี่ยวกับการแซะฮิปสเตอร์อย่าง HIPSTER (ปัญญา ชู), หนังหลายๆเรื่องที่สะท้อนปัญหาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออก
และหนังเรื่อง MICHAEL’S
(คุณวุฒิ
บุญฤกษ์) ที่เจาะลึกชีวิตชาวโรฮิงญาในไทยได้ดีมากๆ
จริงๆแล้วเราว่าชายหนุ่มโรฮิงญาคนนึงที่ให้สัมภาษณ์ใน
MICHAEL’S ดูน่ารักมากๆ (คนที่เป็น nephew ของตัว subject หลัก) แต่เขาอพยพไปอยู่สหรัฐอเมริกา และได้สัญชาติสหรัฐไปแล้ว ซึ่งเราก็เข้าใจเขาเป็นอย่างดี
เพราะถ้าเราเป็นเขา เราก็ไม่ขออยู่เมืองไทยเช่นกัน
อยากขออพยพลี้ภัยตามเขาไปด้วยมากๆค่ะ
No comments:
Post a Comment