YANEE, THE GIRL WHO IS TRYING TO OVERCOME HER FEARS (2015, Anuwat
Amnajkasem, A+25)
เข้าใจว่าหนังอาจจะมีนัยะทางการเมืองหรือนัยะสะท้อนอะไรบางอย่างนะ
แต่เราไม่ใช่คนที่เก่งด้านการตีความน่ะ
เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่ได้เข้าใจอะไรตรงจุดนี้ และก็เลยหันไป focus ที่จุดอื่นๆแทน
พอดูจบแล้ว เราก็เลยสงสัยว่า บางทีหนังอาจจะเข้าทางเรามากขึ้น
ถ้าหากมันตัดอารมณ์ตลกและการสื่อสัญลักษณ์ต่างๆทิ้งไปบ้างน่ะ คือเราไม่รู้หมดหรอกว่าจุดไหนบ้างในเรื่องที่เป็นสัญลักษณ์แทนอะไร
แต่เรารู้สึกเหมือนกับว่า บางทีเนื้อเรื่องในหนังมันไม่ smooth หรือมันไม่สนุกสุดขีดเท่าที่ควร
เพราะผู้สร้างหนังอาจจะพยายามทำให้หนัง “ส่งสาร” อะไรบางอย่าง
เนื้อเรื่องในหนังก็เลยถูก “สารทางการเมือง”, “สารทางศาสนา” หรือ “สารทางสังคม”
หรืออะไรทำนองนี้ ถ่วงเอาไว้ ซึ่งถ้าหากตัวผู้กำกับยังไม่เชี่ยวชาญมากพอในด้านนี้
ก็อาจจะสร้างหนังที่ work ในทั้งสองระดับไม่ได้
ซึ่งก็คือระดับที่ “ดูสนุกได้โดยไม่ต้องตีความ” และ “ดูแล้วตีความได้อย่างสนุกสนาน”
คือเราตั้งข้อสงสัยว่า
บางทีคุณอนุวัชร์อาจจะทดลองทำหนังโดยได้รับแรงบันดาลใจจาก Ratchapoom Boonbunchachoke น่ะ แต่เราว่า Ratchapoom ทำหนังที่ work ได้ทั้งสองระดับ แต่อาจจะโน้มเอียงไปในทาง “ดูแล้วตีความได้อย่างสนุกสนาน”
มากกว่า แต่ผลการทดลองครั้งนี้อาจจะแสดงให้เห็นว่า หนังเรื่อง YANEE นี้อยู่ในระดับที่ “น่าสนใจมากๆ” สำหรับเรา แต่พลังมันยังออกมาไม่เต็มที่
ทั้งในแง่ “หนังที่สนุกสุดขีด” หรือ “หนังที่ตีความได้อย่างสนุกสนาน”
แต่ก็มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราชอบในหนังเรื่องนี้นะ อย่างเช่น
1.ฉากเปิดเรื่อง ที่ทรงพลังมากๆ ทั้งเครดิตแรกที่เป็นภาษาฝรั่งเศส,
ฉากตั้งกล้องนิ่งหน้าศาลพระภูมิ, การจัดแสงในฉากนั้น, การใช้เพลงประกอบที่ถึงแม้จะดูเหมือนเป็นการ
“เสียดสีหนังสยองขวัญ” แต่ก็ทำให้เรารู้สึกกลัวได้ในขณะเดียวกัน
คือการใช้ดนตรีประกอบในฉากนี้มันเป็นตัวอย่างนึงที่เราว่ามัน work ได้ทั้งสองระดับน่ะ
คือฟังแล้วน่ากลัว และฟังแล้วรู้สึกว่ามันจงใจล้อความน่ากลัวของตัวมันเองด้วย และเราก็ชอบเครดิตชื่อเรื่องที่ขึ้นมาโดยใช้
font ตัวอักษรแบบที่เราชอบมากด้วย
2.เราว่ามันมีองค์ประกอบของหนังผีที่ work มากๆสำหรับเรา
คือมันไม่มีการใส่จังหวะตุ้งแช่ตกใจ อย่างเช่น ฉากที่เราเห็นเงาสะท้อนของผีในจอทีวี
แต่ก็ไม่มีการใส่เสียงตกใจหรือท่านางเอกตกใจในฉากนั้น,
การที่นางเอกตัดสินใจจะคุยกับผีอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งมันเป็นสิ่งที่ดีมากๆ
เพราะมันเป็นสิ่งที่เราคิดว่าเราคงทำในชีวิตจริงเช่นกัน,
ฉากที่นางเอกนั่งสมาธิเพื่อฝึกจิตสู้กับผี, ฉากที่นางเอกเหมือนจะจินตนาการอาวุธปืนขึ้นมาสู้กับผีได้
3.การตัดต่อระหว่างฉากในป่ากับฉากในห้องนอนก็น่าสนใจมากๆ
ไปๆมาๆก็คือว่าเราชอบความเป็นหนังผีของหนังเรื่องนี้มากๆน่ะ
แต่เรารู้สึกว่า “อารมณ์ตลก” กับ “สัญลักษณ์สื่อความหมายต่างๆ”
อาจจะเป็นส่วนเกินสำหรับเราในหนังเรื่องนี้
อย่างไรก็ดี
ปรากฏว่าวันนี้มีหนังที่ดูเหมือนจะใช้สัญลักษณ์ทางการเมืองอีกสองเรื่อง ซึ่งก็คือ GHOST RABBIT & THE CASKET
SALES (Arnont Nongyao, A+30) กับ BOYS ARE BACK IN TOWN
(Eakalak Maleetipawan, A+30) ที่เราว่ามัน work มากๆ ทั้งๆที่เราตีความอะไรมันไม่ออกเลย 555 คือเราว่าจริงๆแล้วหนังทั้ง 3
เรื่องนี้ (รวม YANEE ด้วย) มีการส่งสารทางการเมือง/สังคม
หรือมีการ “สื่อประเด็น” ผ่านทางการใช้สัญลักษณ์เหมือนๆกัน แต่ YANEE ผสม “องค์ประกอบ” นี้เข้ากับองค์ประกอบอื่นๆในหนังได้ไม่เข้ากันอย่างสนิทแนบเนียน
รสชาติที่เกิดจากองค์ประกอบนี้
มันก็เลยไปขัดกับรสชาติที่เกิดจากองค์ประกอบอื่นๆในหนัง รสชาติทั้งหมดในหนังมันก็เลยไม่อร่อยเท่าที่ควร
แต่ GHOST RABBIT & THE CASKET SALES กับ BOYS
ARE BACK IN TOWN มันเป็นหนังทดลองที่ไม่ได้เล่าเรื่อง เพราะฉะนั้นพวกเขาก็เลยไม่ต้องผสม
“สาร” กับ “สัญลักษณ์สื่อความหมาย” เข้ากับ “เนื้อเรื่อง” ซึ่งนั่นก็เลยเป็นข้อได้เปรียบของหนังสองเรื่องนี้เมื่อเทียบกับ
YANEE และผู้กำกับทั้งสองคนนี้ก็เชี่ยวชาญกับการทำหนังทำนองนี้อยู่แล้วด้วย
เหมือนกับว่าพวกเขาเป็นกุ๊กที่เคยทำอาหารจานนี้มาแล้วประมาณ 100 ครั้ง
พวกเขาก็เลยทำอาหารจานนี้ให้ออกมาอร่อยมากๆได้อย่างง่ายดาย
ในขณะที่คุณอนุวัชร์อาจจะเพิ่งทดลองทำหนังแนว YANEE แบบนี้เป็นครั้งแรก
เพราะฉะนั้นรสชาติมันก็เลยอาจจะยังไม่ลงตัวแบบ 100% เต็มจ้ะ
No comments:
Post a Comment