CRIMSON PEAK (2015, Guillermo del
Toro, A+30)
ตอนที่ดูจะนึกถึงหนังหลายๆเ รื่อง ตั้งแต่ THE PRINCE AND ME (2004, Martha Coolidge), COSMOPOLIS
(2012, David Cronenberg), ข้างหลังภาพ และขมิ้นกับปูน
เพราะหนังหรือนิยายกลุ่มนี้ มันมีเนื้อหาบางส่วนเกี่ยวก ับความสัมพันธ์ระหว่าง “ศักดินา” กับ “เศรษฐีใหม่” หรือ “ชนชั้นกลาง” เหมือนๆกัน โดยใน THE PRINCE AND
ME, COSMOPOLIS และข้างหลังภาพนั้น ความสัมพันธ์จะดำเนินไปในทางบวก อย่างเช่นใน COSMOPOLIS พระเอกที่เป็นเศรษฐีใหม่ได้ แต่งงานกับผู้หญิงที่เป็นเห มือนชนชั้นศักดินาจากยุโรป
และพอพระเอกมีท่าทีจะล้มละล าย ตัวภรรยาก็บอกว่าเธอสามารถใ ห้เงินช่วยเหลือพระเอกได้
แต่ต้องหย่ากัน อะไรทำนองนี้ แต่สิ่งที่เราชอบมากๆใน CRIMSON PEAK ก็คือว่า ความสัมพันธ์ระหว่างศักดินา กับเศรษฐีใหม่ในหนังเรื่องน ี้
ดูเหมือนจะเป็นไปในทางปฏิปั กษ์ต่อกันอย่างรุนแรงมากๆ
และหนังนำเสนอการล่มสลายของ ชนชั้นศักดินาได้ในแบบที่สะ ใจเราอย่างสุดๆ
ถึงแม้หนังอาจจะไม่ได้ตั้งใ จเช่นนั้นก็ตาม
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ตอนแรกที่ดูจะนึกถึงนิยาย ของจินตวีร์
วิวัธน์ และหนังแนว gothic horror อย่าง THE WOMAN IN
BLACK 2: ANGEL OF DEATH (2014, Tom Harper, A+30) เพราะมันใช้ setting
คล้ายๆกัน
2.แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ หนังส่งสัญญาณในช่วงต้นเรื่ องว่า
2.1 นางเอกเขียนนิยายที่มีผี แต่เธอย้ำว่า ผีไม่สำคัญในนิยายของเธอ ผีเป็นแค่ metaphor ถึงอดีตเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้มันสะท้อนตัวหนั งเรื่องนี้ด้วย เพราะผีในหนังเรื่องนี้ไม่ไ ด้มีบทบาทเป็นตัวร้ายหลักขอ งเรื่องเหมือนอย่างหนัง
gothic horror เรื่องอื่นๆ
2.2 นางเอกแสดงท่าทีเหมือนเกลีย ดชังชนชั้นศักดินาในช่วงต้น เรื่อง
โดยเธอแสดงความเห็นว่าพวกศั กดินาเก่าในยุโรปเป็นพวกเอา รัดเอาเปรียบคนจน
ซึ่งบทสนทนาแบบนี้มันฟังแล้ วสะดุดหูมากๆ เพราะมันไม่ค่อยเจอในหนัง/ นิยาย
gothic horror เรื่องอื่นๆ และอะไรที่มัน “โดดขึ้นมาจากสิ่งที่พบเห็น ได้ตามปกติใน genre ของมัน”
นี่แหละ ที่มันมักจะสะท้อนสิ่งที่น่ าสนใจมากๆในตัวหนังเรื่องนั ้น
และหนังก็แสดงให้เห็นว่า พอนางเอกทรยศต่ออุดมการณ์ “เกลียดชนชั้นศักดินาเก่า” ของตนเองในช่วงต้นเรื่อง นางเอกก็ได้รับบทลงโทษอย่าง ไรบ้างในเวลาต่อมา
2.3 นางเอกแสดงท่าทีไม่ค่อยชอบน ิยายของ
Jane Austen ในช่วงต้นเรื่องด้วย ซึ่งก็น่าสนใจดี
เพราะเนื้อเรื่องแบบ CRIMSON PEAK มันเหมือนเป็นการพลิกตลบเนื ้อเรื่องทำนอง
PRIDE AND PREJUDICE ที่นางเอกได้พบรักกับหนุ่มผ ู้ดีเก่า
และ “สามารถประนีประนอมกับผู้ดี เก่าได้ในที่สุด”
ซึ่งแน่นอนว่าปัจจัยดังกล่า วทำให้เราไม่ได้ชอบนิยายของ Jane
Austen มากนัก
3.ประเด็นเรื่องความสัมพันธ ์ของคนสายเลือดเดียวกันในหน ังเรื่องนี้
ก็ทำให้นึกถึงพวกราชวงศ์ยุค เก่าที่มีการแต่งงานกันระหว ่างพี่น้องหรือภายในเครือญา ติเดียวกันเองด้วย
4.เราไม่เห็นคนงานเหมืองในห นังเรื่องนี้
แต่สีแดงที่ซึมขึ้นมาจากพื้ นดินใต้บ้านของศักดินาเก่า
ก็ทำให้เรานึกถึงอะไรพวกนี้ โดยไม่ได้ตั้งใจ
5.สิ่งที่สะใจมากๆในตอนจบขอ งหนังเรื่องนี้
ก็คือการใช้ “พลั่ว” เป็นอาวุธสังหารในท้ายที่สุ ด
เพราะพลั่วมันทำให้นึกถึงชน ชั้นแรงงาน นึกถึงมือที่หยาบกร้านของชน ชั้นแรงงานที่ต้องใช้พลั่วข ุดดิน
(ซึ่งแตกต่างจากมืออันอ่อนน ุ่มของโธมัส ชาร์ปในช่วงต้นเรื่อง)
จริงๆแล้ว CRIMSON PEAK อาจจะไม่ได้ตั้งใจพูดเรื่อง ชนชั้นศักดินา-เศรษฐีใหม่ก็ ได้นะ
แต่มันทำให้เรานึกถึงโดยที่ หนังไม่ได้ตั้งใจน่ะ
6.ตอนเด็กๆเราประหลาดใจมากๆ ว่าทำไมหลายๆคนถึงชอบละครที วีเรื่อง
“บ้านทรายทอง” ทั้งๆที่เราดูแล้วไม่ชอบเลย แต่พอเราโตขึ้น แล้วเราได้ดูหนังอย่าง LA CEREMONIE (1995, Claude
Chabrol) และ CRIMSON PEAK มันก็เลยทำให้เราเข้าใจว่าท ำไมเราไม่ชอบละครทีวีเรื่อง “บ้านทรายทอง” เพราะมันดูแล้วไม่สะใจน่ะ ถ้า “บ้านทรายทอง” มันจะสะใจเรา มันก็ต้องจบแบบ LA
CEREMONIE หรือ CRIMSON PEAK นี่แหละ
ตอนที่ดูจะนึกถึงหนังหลายๆเ
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ตอนแรกที่ดูจะนึกถึงนิยาย
2.แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ หนังส่งสัญญาณในช่วงต้นเรื่
2.1 นางเอกเขียนนิยายที่มีผี แต่เธอย้ำว่า ผีไม่สำคัญในนิยายของเธอ ผีเป็นแค่ metaphor ถึงอดีตเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้มันสะท้อนตัวหนั
2.2 นางเอกแสดงท่าทีเหมือนเกลีย
และหนังก็แสดงให้เห็นว่า พอนางเอกทรยศต่ออุดมการณ์ “เกลียดชนชั้นศักดินาเก่า” ของตนเองในช่วงต้นเรื่อง นางเอกก็ได้รับบทลงโทษอย่าง
2.3 นางเอกแสดงท่าทีไม่ค่อยชอบน
3.ประเด็นเรื่องความสัมพันธ
4.เราไม่เห็นคนงานเหมืองในห
5.สิ่งที่สะใจมากๆในตอนจบขอ
จริงๆแล้ว CRIMSON PEAK อาจจะไม่ได้ตั้งใจพูดเรื่อง
6.ตอนเด็กๆเราประหลาดใจมากๆ
No comments:
Post a Comment