Tuesday, October 27, 2015

SCIENTIFIC DOCUMENTARIES IN WEIMAR GERMANY

เกร็ดเกี่ยวกับงาน FILMVIRUS IN WEIMAR GERMANY ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

นอกจาก OUR HEAVENLY BODIES (1925, Hans Walter Kornblum, Germany, documentary, A+30) แล้ว เราเพิ่งรู้ว่าจริงๆแล้วในเยอรมนียุคนั้นมีการสร้างหนังสารคดีแนววิทยาศาสตร์เยอะแยะหลายร้อยเรื่อง เราเดาว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่ายุคนั้นยังไม่มีโทรทัศน์ก็ได้ ก็เลยมีการสร้างหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ออกฉายโรงเป็นจำนวนมากมาย แต่พอมีโทรทัศน์เกิดขึ้น สารคดีวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ก็น่าจะเปลี่ยนตัวเองไปเป็นรายการทีวีแทน

แต่ดูเหมือนหนังสารคดีวิทยาศาสตร์หลายร้อยเรื่องเหล่านี้ไม่ค่อยได้รับการเผยแพร่ในยุคปัจจุบันเหมือนอย่างหนัง fiction เราเดาว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะข้อมูลวิทยาศาสตร์ในหนังสารคดีทศวรรษ 1920-1930 เหล่านี้มันอาจจะล้าสมัยไปแล้วก็ได้ และพอข้อมูลวิทยาศาสตร์ในหนังเหล่านี้มันล้าสมัยไปแล้ว หนังเหล่านี้ก็อาจจะสูญเสีย “คุณค่าหลัก” ในตัวมันเองไปโดยปริยาย โดยมันอาจจะมีคุณค่าเหลือในแง่ประวัติศาสตร์และในแง่ความเป็นหนังสารคดียุคเก่า แต่คุณค่าในแง่ “ความรู้ทางวิทยาศาสตร์” ของมันอาจจะหมดไปแล้ว

เหมือนอย่างหนังสารคดีเรื่อง OUR HEAVENLY BODIES ที่เราเพิ่งได้ดูไป เพราะหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาส่วนหนึ่งเกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล แต่ไม่ได้พูดถึงดาวพลูโต เพราะว่าหนังสารคดีเรื่องนี้สร้างขึ้นในปี 1925 แต่ดาวพลูโตได้รับการค้นพบหลังจากนั้น

อันนี้เป็นรายชื่อส่วนหนึ่งของหนังสารคดีเยอรมันยุคเก่า

1.THE STAG BEETLE (1920/1921, Ulrich K.T. Schulz)

2.INVISIBLE CLOUDS (1932, Martin Rikli, 12min)

3.IN THE OBEDSKA BARA: STUDIES WITH TELEPHOTO LENS AND MICROPHONE IN THE BIRD PARADISE OF YUGOSLAVIA (1933/1934, Ulrich K.T. Schulz)

4.MARINE LIFE IN THE ADRIATIC SEA (1933/1934, Ulrich K.T. Schulz)

5.STATE OF THE ANTS (1934, Ulrich K.T. Schulz)

6.THE INNER LIFE OF THE PLANTS (1937, Ulrich K.T. Schulz)

7.X-RAYS (1937, Martin Rikli)

8.ARE ANIMALS CAPABLE OF THINKING? (1938, Fritz Heydenreich)

9.RADIUM (1939/1940, Martin Rikli)

10.ZOOLOGICAL GARDEN OF SOUTH AMERICA (1940, Werner Buhre)

ส่วนรูปนี้มาจากหนังเรื่อง THE EINSTEIN THEORY OF RELATIVITY (1923, Dave Fleischer, USA) ซึ่งเป็นหนังสารคดีวิทยาศาสตร์ของสหรัฐในยุคนั้น สังเกตได้ว่าทั้งหนังเรื่องนี้และ OUR HEAVENLY BODIES ต่างก็ชื่นชมยกย่องไอน์สไตน์อย่างรุนแรงมาก




No comments: