Wednesday, October 21, 2015

MANOLAND (2015, Teerawat Mulvilai, stage play, A+30)

MANOLAND (2015, Teerawat Mulvilai, stage play, A+30)

1.ชอบหลายๆช่วงของละครเรื่องนี้มากๆ

2.ชอบตั้งแต่ฉากแรกแล้ว ที่เป็นตัวละครแต่ละตัวสลับกันตีความท่าเต้นของตัวละครตัวอื่นๆ ในแง่นึงฉากนี้ทำให้เรานึกถึงปัญหาของเราที่มีต่อการแสดงแบบ dance theatre และ physical theatre ด้วยนะ 555 เพราะเราเป็นคนที่ตีความไม่เก่งน่ะ และพอเรามาดูการแสดงแบบ dance theatre และ physical theatre หลายๆเรื่อง เราจะไม่ค่อยอินกับมันมากนัก หรือไม่ได้ชอบมันแบบสุดๆ เพราะเราตีความมันไม่ออก 555 หรือเราอาจจะตีความในแบบที่ห่างไกลจากความตั้งใจจริงของผู้สร้างงานมากๆ เหมือนกับที่ตัวละครแต่ละตัวในเรื่องนี้ ตีความท่าเต้นในแบบที่ไม่ซ้ำกันเลย หรือตีความท่าเต้นในแบบที่แตกต่างจากกันอย่างรุนแรง

 แต่ถ้าหากเป็นละครเวทีปกติ ที่ตัวละครพูดคุยกัน เราจะพอจับใจความมันได้ แล้วเราจะอินกับมันมากกว่า มันก็เลยเหมือนกับว่า การแสดงแบบ dance theatre และ physical theatre โดยทั่วไป ไม่ใช่อะไรที่เข้าทางเรามากนัก

แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวนะ เพราะการดูนักแสดงเคลื่อนไหวร่างกายไปเฉยๆ หรือเต้นรำไปเฉยๆ โดยที่เราไม่เข้าใจความหมายของมัน ในหลายๆครั้งมันไม่ค่อยกระทบอารมณ์ความรู้สึกเรามากเท่าไหร่น่ะ

ซึ่งสิ่งนี้จะตรงข้ามกับความรู้สึกของเราที่มีต่อหนังทดลอง คือหนังทดลองหลายๆเรื่องมัน “ไม่ได้เล่าเรื่อง” แต่เราจะมีความสุขมากๆกับการดูภาพ “บรรยากาศ”, ภาพแสงอาทิตย์, ภาพอะไรมืดๆ, ภาพเหี้ยๆห่าๆอะไรก็ไม่รู้ มันเหมือนกับว่า “ภาพที่เราไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอะไร” ในหนังทดลองหลายๆเรื่อง มันกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกของเราได้อย่างรุนแรงมากๆ แต่ “การเคลื่อนไหวร่างกายของนักแสดงที่เราไม่รู้ว่ามันหมายความว่าอะไร” ใน dance theatre และ physical theatre หลายๆเรื่อง มันไม่ค่อยกระตุ้นอารมณ์ความรู้สึกเรา ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวล้วนๆจ้ะ

และด้วยสาเหตุนี้ เราก็เลยชอบช่วงแรกของ MANOLAND มากๆ เพราะเรารู้สึกว่าเราเป็นเหมือนกับตัวละครในฉากแรกนี่แหละ ที่เวลาไปดูการแสดง dance theatre และ physical theatre แล้ว เรามักจะตีความอะไรไปต่างๆนานา โดยที่เราจะมีความกังวลใจอยู่ตลอดเวลาว่า “สิ่งที่เราคิดอยู่ในหัวตอนนี้ คงจะเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากสารที่ผู้กำกับตั้งใจจะสื่อมากๆเลย”

2.ฉากแรกนี่ จริงๆแล้วเรารู้สึกว่ามันเป็นข้อดีของการมโน หรือการใช้จินตนาการนะ คือเราว่า “การจินตนาการไปเอง” มันมีทั้งข้อดีและข้อเสียน่ะแหละ และฉากแรกนี่ สำหรับเราแล้ว มันสะท้อนข้อดีของการเปิดเสรีทางจินตนาการ คือใครจะจินตนาการอะไรยังไงก็ได้ ตีความอะไรยังไงก็ได้ เราควรจะเปิดเสรีให้กับมัน แต่สิ่งที่สำคัญก็คือว่า “คุณต้องไม่ไปปิดปากคนอื่น” หรือ “อ้างว่าสิ่งที่ตัวเองคิด คือสิ่งที่ผู้กำกับคิด”

คือในฉากแรกนี่ เราว่ามันงดงามมากๆเลยนะ ที่ได้เห็นตัวละครแต่ละตัว ตีความไม่ซ้ำกันเลยน่ะ ซึ่งการตีความไม่ซ้ำกันเลยนี่ มันจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ มีการเปิดเสรีเท่านั้น ไม่มีใครมีอำนาจในการสั่งปิดปากใคร

มันเหมือนกับว่า แทนที่เราจะได้เห็นเพียงแค่ “นักแสดงเอาแขนขึ้น นักแสดงเอาแขนลง” และตีความสิ่งที่เราได้เห็นนั้นในหัวของเราเพียงแค่คนเดียว เรากลับได้รับรู้ว่า movement A ที่เราเห็นนั้น มันสามารถทำให้ผู้ชม ก คิดถึงประเด็น 1 ทำให้ผู้ชม ข คิดถึงประเด็น 2 ทำให้ผู้ชม ค คิดถึงประเด็น 3  มันก็เลยเหมือนกับว่า movement A สามารถเชื่อมโยงกับประเด็นได้ 10 ประเด็น ผ่านทางจินตนาการของผู้ชมแต่ละคนที่ไม่ซ้ำกัน ซึ่งเราว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่งดงามในความเห็นของเรา “ตราบใดที่ผู้ตีความแต่ละคนยอมรับว่านี่คือจินตนาการของตนเอง และอาจจะใช่หรือไม่ใช่สิ่งที่ผู้กำกับต้องการจะสื่อก็ได้”

3.ส่วนฉากต่อๆมา ก็มีฉากที่เราชอบมากหลายๆฉาก โดยเฉพาะฉากที่ตัวละครหลายๆคน พยายามห้ามการกระทำที่ “ออกนอกลู่นอกทาง” ของตัวละครตัวอื่นๆ ด้วยการพูดคำว่า “จ้ะ” หรืออะไรทำนองนี้ แต่ในที่สุดก็มีตัวละครตัวนึงที่กล้าทำในสิ่งที่ “ออกนอกลู่นอกทาง” โดยไม่แคร์ใคร แล้วในที่สุดตัวละครตัวนั้นก็สามารถควบคุมจังหวะการออกเสียงจ้ะจ๋า ของตัวละครตัวอื่นๆได้ มันเหมือนกับว่าการออกนอกลู่นอกทางของตัวละครตัวนั้น ทำให้ตัวละครตัวนั้นได้กลายเป็นผู้นำสังคมในที่สุด

ซึ่งประเด็นนี้ทำให้เรานึกถึงอะไรหลายๆอย่างในสังคมนะ ตั้งแต่เรื่องของ Galileo ที่เสนอแนวคิดว่าดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล แต่เขากลับถูกคริสตจักรทำร้ายอย่างรุนแรง

และประเด็นนี้ก็ทำให้เรานึกถึงแม้แต่เรื่องของเกย์ด้วย เพราะตอนเด็กๆเราเคยพบเจอสังคมบางสังคมหรือคนบางคนที่เกลียดเกย์มากๆน่ะ มันเหมือนกับว่าพอเราจะแสดงออกในแบบที่เราต้องการ เราก็จะถูกประณามอย่างรุนแรงจากคนบางคนในยุคนั้น แต่พอกาลเวลาผ่านมา 30 กว่าปี สังคมก็เปลี่ยนไปมาก คนที่เป็นเกย์และเลสเบียนก็สามารถเป็นผู้นำประเทศได้อย่างเปิดเผย (อย่างเช่นนายกรัฐมนตรีไอซ์แลนด์) สิ่งต่างๆที่สังคมเคยห้ามปรามเมื่อ 30 ปีก่อน พอมีคนกล้าทำมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่แคร์สังคมที่ “มโนสร้างกฎขึ้นมาเอง” สังคมก็กลับเป็นฝ่ายที่ต้องปรับตัวตามคนที่กล้าแหกกฎเสียเอง

(คือกฎเกณฑ์บางอย่างในสังคม มันก็เป็นกฎที่ไม่ได้เกิดจากการมโนในความเห็นของเรานะ อย่างเช่น “ห้ามทำร้ายร่างกายคน” อะไรแบบนี้ เพราะการทำร้ายร่างกายคนมันก่อความลำบากเดือดร้อนให้คนอื่นจริงๆ แต่กฎบางอย่างในสังคม มันเกิดจากการที่หลายๆคนในสังคมมโนเอาเองน่ะ อย่างเช่น กฎ “ห้ามผู้ชายเย็ดกัน” ในบางประเทศ เพราะการที่ผู้ใหญ่สองคนจะเย็ดกันด้วยความเต็มใจ มันไม่ได้ไปหนักหัวกบาลใครสักหน่อย นอกจากพวกมึงจะมโนเอาเองว่า การทำเช่นนั้นเป็นสิ่งผิด)


4.อีกฉากที่เราว่าคลาสสิคที่สุดในชีวิตการแสดง ก็คือฉากที่ตัวละครหลายๆตัว พูดแต่คำว่า “ดีงาม” หรือคำที่มีความหมายคล้ายๆกันไปเรื่อยๆ แล้วแสดงอาการบ้าคลั่ง ฮิสทีเรียอย่างรุนแรงมากๆ ฉากนี้นี่มันสะท้อนมนุษย์ในบางสังคมได้ดีจริงๆ

No comments: