A
HANDFUL OF RICE (1940, Paul Fejos + Gunnar Skoglund, Sweden, A+30)
ข้าวกำมือเดียว
--ดูแล้วนึกถึง SON OF THE NORTHEAST หรือลูกอีสาน (1983,
Vichit Kounavudhi, A+30) มากๆ ซึ่งอาจจะแสดงให้เห็นว่าทีมงานสวีเดนสามารถสร้างหนังเรื่องนี้ได้ตรงตามความเป็นจริงมากพอสมควร
หนังเรื่องนี้ถึงได้ออกมาไม่แตกต่างไปจากหนังที่สร้างโดยคนไทยเองในอีก 40 ปีต่อมา
--หนึ่งในสิ่งที่เราชอบมากใน A HANDFUL OF RICE คือฉากที่สามีภรรยาช่วยกันสร้างบ้านของตนเอง
คือเรานึกไม่ถึงว่าคนสองคนจะสามารถสร้างบ้านได้เองน่ะ
โดยที่ไม่ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากเพื่อนบ้านหรือคนในหมู่บ้านเลย
แต่ก็เป็นบ้านหลังคามุงจากนะ ไม่ใช่บ้านดินแบบที่นิยมทำกันในยุคปัจจุบัน
เราว่าฉากสร้างบ้านด้วยตัวเองนี่เป็นฉากที่เราแทบไม่เคยเห็นในหนังไทยเรื่องอื่นๆมาก่อนเลย
นึกไม่ออกว่ามีหนังไทยเรื่องไหนที่มีฉากแบบนี้บ้างหรือเปล่า แม้แต่ใน “ลูกอีสาน” เราก็จำไม่ได้ว่ามีฉากสร้างบ้านด้วยตัวเองบ้างหรือเปล่า
แต่มีฉากสร้างบ้านดินในหนังสารคดีเรื่อง THE GREENHOUSE EFFECT I (2013, คมไผ่ แข็งแรง, A+30) ซึ่งเป็นอะไรที่รุนแรงมาก
เพราะต่อมาบ้านดินในหนังเรื่องนั้นก็ถล่มลงมาอย่างน่าเวทนามากๆ
โชคดีที่บ้านหลังคามุงจากใน “ข้าวกำมือเดียว” ดูท่าว่าจะแข็งแรงกว่าบ้านดิน
--เข้าใจว่าหนังเรื่องนี้และหนังอีกหลายๆเรื่องในทศวรรษ 1920-1940 อาจจะเป็นการตอบสนองความอยากรู้อยากเห็นของผู้ชมที่มีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศที่ตั้งอยู่ห่างไกล
เพราะยุคนั้นยังไม่มีโทรทัศน์น่ะ
เพราะฉะนั้นภาพยนตร์ก็เลยต้องทำหน้าที่แทนโทรทัศน์ในยุคนั้น
โดยหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังของ Gabriel Veyre ในปี 1895-1900
และหนังอย่าง NANOOK OF THE NORTH (1922, Robert J.
Flaherty), TABU (1931, F. W. Murnau, Germany), MELODY OF THE WORLD (1929,
Walter Ruttman, Germany), THE SONG OF CEYLON (1934, Basil Wright) และ THE 400 MILLION (1939, Joris Ivens) ที่เน้นการถ่ายทำในสถานที่ห่างไกลเหมือนกัน
MELODY
OF THE WORLD จะฉายที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ในวันอาทิตย์ที่ 25 ต.ค.นะ
--รู้สึกว่า A HANDFUL OF RICE เหมือนอยู่กึ่งกลางระหว่าง
TABU กับ NANOOK OF THE NORTH คืออยู่กึ่งกลางระหว่างสารคดีกับเรื่องแต่ง
เพราะ A HANDFUL OF RICE เน้นไปที่การทำมาหากินของตัวละคร
แทนที่จะเล่าเรื่องชิงรักหักสวาทแบบ TABU แต่ A
HANDFUL OF RICE ก็ไม่ได้เล่าเรื่องการทำมาหากินในแบบสารคดีซะทีเดียว
นอกจากการสร้างบ้านแล้ว
ในหนังเรื่องนี้เรายังได้เห็นการใช้ช้างลากซุง, การปลูกข้าว, ความยากลำบากในการหาเงินมาซื้อควาย,
การใช้คนไถนาแทนควาย, การดักจับเสือ, การเลี้ยงลิงเป็นสัตว์เลี่ยง, การค้าขายในตลาด
และการสร้างฝายในยุคนั้นด้วย
No comments:
Post a Comment