THE THREEPENNY OPERA (1931, G.W. Pabst, A+30)
เราเคยดู PANDORA’S BOX (1928, G.W. Pabst) เมื่อเกือบ 20
ปีที่แล้ว แต่ตอนนั้นไม่ได้ชอบมาก เราก็เลยไม่ได้สนใจ Pabst กับ
Louise Brooks มากนัก แต่พอมาได้ดู DIARY OF A LOST
GIRL (1929, G.W. Pabst, A+30) เมื่อเร็วๆนี้ เราก็หวีดสุดเสียง
เพราะเราชอบมันสุดๆ และ Louise Brooks ใน DIARY OF A
LOST GIRL ก็สง่างามมากๆ และตอนนี้พอเรามาได้ดู THE
THREEPENNY OPERA เราก็มั่นใจแล้วว่า Pabst เป็นผู้กำกับที่น่าสนใจจริงๆ
เราชอบตัวละครหญิงใน THE THREEPENNY OPERA มากๆ ทั้ง
1.นางเอก (Carola Neher) ที่ประกาศตั้งแต่ต้นเรื่องเลยว่า เธอเคยมีผู้ชายดีๆมาจีบมากมายหลายคน
แต่เธอไม่ต้องการผู้ชายดีๆ เธอต้องการผู้ชายชั่วๆมาเป็นผัวเท่านั้น
2.กะหรี่สาวเจนนี่ (Lotte Lenya) ที่ร้องเพลงเกี่ยวกับสาวรับใช้ในโรงแรมแห่งหนึ่งที่ฆ่าผู้ชายตายหมดทั้งเมือง
มันเป็นเพลงที่หนักมากๆ ไม่ประหลาดใจที่เพลง PIRATE JENNY กลายเป็นเพลงฮิตในเวลาต่อมา
เพราะเนื้อเพลงมันไปสุดทางของมันจริงๆ
Lotte Lenya เองก็เล่นดีสุดๆด้วย เธอเป็นนักแสดงละครเวทีมาก่อน
และเป็นหนึ่งในนักแสดงละครเวทีเพียงไม่กี่คนที่มาร่วมแสดงในหนังเรื่องนี้ โดยในสารคดี
BRECHT VS. PABST (2007) ยังเล่าอีกด้วยว่า
พอเธอมาเข้าร่วมกองถ่ายภาพยนตร์ เธอก็มีพลังบางอย่างที่ช่วยกระตุ้น “นักแสดงภาพยนตร์”
ให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงานอย่างรุนแรงมาก มันเหมือนกับว่านักแสดงละครเวทีมันมีความจริงจังในการทำงานและมันมีพลังทางการแสดงอย่างรุนแรงในแบบที่ดาราภาพยนตร์ไม่มี
ดังนั้นพอมีนักแสดงละครเวทีมาเข้าร่วมในกองถ่าย มันก็เลยช่วย spark พลังทางการแสดงให้กับดาราภาพยนตร์คนอื่นๆไปด้วย
เราว่า Lotte Lenya ในหนังเรื่องนี้ มี aura บางอย่างที่ทำให้นึกถึงกลุ่มนักแสดงขาประจำของ Rainer Werner
Fassbinder ด้วย บอกไม่ถูกเหมือนกันว่า aura นั้นคืออะไร
แต่มันเหมือนกับท่าที “หยันชีวิต” อะไรบางอย่าง
ซึ่งเป็นสิ่งที่จะพบได้ในกลุ่มนักแสดงขาประจำของ Fassbinder
พอนาซีเรืองอำนาจในเยอรมนี Lotte Lenya ก็อพยพไปอยู่สหรัฐอเมริกาแทน
และในเวลาต่อมาเธอก็ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง
THE ROMAN SPRING OF MRS. STONE (1961, Jose Quintero) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับโสเภณีชาย
และสร้างจากบทละครเวทีของ Tennessee Williams
3.ตัวละครหญิงสาวนิรนามคนนึง ที่พอเดินสวนกับพระเอกในถนน
ก็รู้สึกเงี่ยนพระเอกอย่างรุนแรงมาก เธอเลยชวนพระเอกไปนอนกับเธอที่บ้านเธอในทันที
เธอเป็นหนึ่งในตัวละครที่มีความสุขที่สุดในหนังเรื่องนี้
4.พระราชินีของอังกฤษ ที่หน้าตาเห็นแล้วรู้ทันทีว่าต้องโดนตบด้วยตีนของจริง
ไม่รู้ว่าตัวละครหญิงแรงๆเหล่านี้มันเกิดจากบทละครดั้งเดิมของ Bertolt Brecht หรือมันเกิดจากไอเดียของ
G.W. Pabst หรือมันเป็นสิ่งที่มักเจอได้อยู่แล้วในหนังเยอรมันยุคนั้น
555 เพราะหนังอย่าง THE SUFFRAGATE (1913, Urban Gad) ก็มีตัวละครนางเอกเป็นนักวางระเบิด
และหนังอย่าง NIBELUNGEN (1924, Fritz Lang) ก็มีนางเอกเป็นฆาตกรที่โหดเหี้ยมมากๆ
No comments:
Post a Comment