TAG (2015, Sion Sono, Japan, 85min, A+25)
ช่วงนี้เป็นช่วงสะสางงานคั่งค้าง 555 อันนี้เป็นหนังที่เราดูในวันที่
27 พ.ย. แต่เพิ่งมีเวลาจดบันทึกความรู้สึกของตัวเอง
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1.ช่วงประมาณ 20-30 นาทีแรกของหนังนี่เราชอบสุดๆในระดับ
A+30 เลยนะ เพราะมันเป็นช่วงที่เรารู้สึกว่าตัวละครยังเป็น “มนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง”
อยู่น่ะ ความรู้สึกอินมันเริ่มมาลดลงตั้งแต่ตอนที่ครูในโรงเรียนมัธยมชักปืนขึ้นมากราดยิงแบบไม่สมจริงน่ะ
คือช่วงแรกๆนี่นึกว่าเป็นหนังสยองขวัญที่ลุ้นระทึกสนุกมาก
ตอนที่มีลมพัดคนตัวขาดครึ่งท่อนไปเรื่อยๆ แล้วพอนางเอกหนีมาเจอโรงเรียนมัธยม
แล้วมีการพูดคุยกันเรื่องจักรวาลคู่ขนาน เราก็นึกว่ามันคงจะเปลี่ยนจากหนัง horror มาเป็นหนังไซไฟ/thriller
โดยที่ตัวละครยังคงเป็นมนุษย์อยู่ เราก็เลยยังอินกับมันมากๆอยู่
แต่พอครูชักปืนขึ้นมากราดยิงแบบทีเล่นทีจริง เราก็เลยเข้าใจว่า
หนังมันไม่ได้มองตัวละครเป็นมนุษย์ แต่เป็นหนังที่เล่นกับความเป็น fiction และเราต้องมองตัวละครเป็นตัวละครจริงๆ
2.จริงๆเราว่าหนังก็มีไอเดียสร้างสรรค์มากๆนะ
การสร้างโลกที่มีแต่ผู้หญิง และเปลี่ยนสถานการณ์ไปเรื่อยๆ และนางเอก (Reina Triendl) ก็เล่นได้ดีมากๆ
แต่เหมือนบทสรุปของมันไม่น่าสนใจเท่าไหร่ และมนต์เสน่ห์บางอย่างของมันขาดหายไปตั้งแต่ฉากครูชักปืนขึ้นมายิงน่ะ
เราก็บอกไม่ได้เหมือนกันว่าอะไรที่มันขาดหายไป
หรือจริงๆแล้วอาจจะเป็นเพียงเพราะว่าเราไม่ใช่คนที่เล่นเกมคอมพิวเตอร์ก็ได้มั้ง
เราก็เลยไม่รู้สึกผูกพันกับช่วงครึ่งหลังของหนังเรื่องนี้
คือการสร้างโลก fiction ที่เน้นความเป็น fiction
ของมันแบบนี้
(หรือการเล่าเรื่องแบบที่ผู้ชมถูกกระตุ้นเตือนตลอดเวลาว่า
กำลังดูสิ่งที่ไม่ได้อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงอยู่) มันทำให้เรานึกถึงหนังของ Alain
Robbe-Grillet หลายๆเรื่อง หรือหนังของ Raoul Ruiz เรื่อง THREE LIVES AND ONLY ONE DEATH (1996) กับ A
PLACE AMONG THE LIVING (2003) น่ะ แต่เรารู้สึกว่าหนังของ Alain
Robbe-Grillet กับ Raoul Ruiz มันทำออกมาได้มีมนต์เสน่ห์กว่ามากๆ
มีความน่าสนใจ มีความ convincing สูงกว่ามาก
คือถึงแม้เราจะดูหนังโดยที่รู้ตัวตลอดเวลาว่า
กำลังดูตัวละครถูกชักใยโดยอะไรบางอย่างไปเรื่อยๆ
และไม่ได้ดูตัวละครที่ถูกทำให้เหมือนมนุษย์ในโลกแห่งความเป็นจริง แต่หนังของ Robbe-Grillet
กับ Ruiz มันมีพลังบางอย่างที่ทำให้เรารู้สึกเพลิดเพลินกับมันอย่างรุนแรง
แต่มันอาจจะเป็นที่ประเด็นด้วยแหละ เพราะหนังของ Alain Robbe-Grillet กับ
Raoul Ruiz มันเล่นสนุกกับ “ความพลิกผันในการเล่าเรื่อง”
เหมือนกันก็จริง แต่มันไม่ได้พูดถึงประเด็นเกมคอมพิวเตอร์เหมือน TAG มันพูดถึงประเด็นอื่นๆที่เรารู้สึกเชื่อมโยงกับมันเป็นการส่วนตัวมากกว่า
อย่างเช่น “ลักษณะของหนัง film noir” ใน A PLACE
AMONG THE LIVING (แน่นอนว่าเราสนใจ film noir มากกว่าเกมคอมพิวเตอร์) เราก็เลยเพลิดเพลินกับหนังของสองคนนี้มากกว่า
ตอนดู TAG เราจะนึกถึงสิ่งที่เพื่อนคนนึงเคยพูดถึงหนังเรื่อง REINCARNATION
(2005, Takashi Shimizu) ด้วย เพราะเพื่อนคนนั้นพูดว่า REINCARNATION
นี่มันมีการทับซ้อนของอดีตปัจจุบันแบบหนังของ Alain Resnais เลยนะ แต่มันเหมือนขาดไปอีกมิตินึง มันถึงจะเทียบชั้นกับหนังของ Alain
Resnais ได้น่ะ คือ REINCARNATION มันเข้าใกล้ความเป็น
Alain Resnais มากๆ แต่มันยังขาดอยู่อีกหนึ่งมิติ
เราก็รู้สึกแบบนั้นกับ TAG เหมือนกัน คือเราก็รู้สึกว่ามันทำให้เรานึกถึงหนังของ
Alain Robbe-Grillet กับ Raoul Ruiz ก็จริง
แต่มันยังขาดอยู่อีกหนึ่งมิติ มันถึงจะเทียบชั้นกันได้
3.เราเพิ่งได้ดูหนังของ Sion Sono มา 3 เรื่อง ซึ่งก็คือเรื่องนี้ กับ WHY DON’T YOU PLAY IN HELL
(2013) และ HIMIZU (2011) ปรากฏว่าเราชอบ HIMIZU
มากที่สุด เพราะเนื้อเรื่องของมันเกิดในโลกแห่งความเป็นจริง ตัวละครมันเป็นมนุษย์
และเราก็อินกับตัวละครใน HIMIZU อย่างรุนแรงสุดๆ ส่วน WHY DON’T YOU PLAY IN HELL กับ
TAG นั้นเรารู้สึกคล้ายๆกัน
คือมันเป็นหนังที่มีไอเดียบางอย่างน่าสนใจมากๆ มีความคิดสร้างสรรค์มากๆ
แต่เราไม่ค่อยอินกับมันเท่าไหร่ และนั่นคงเป็นเพราะว่าหนังสองเรื่องนี้มัน treat
ตัวละครและจักรวาลในหนังของมันเป็น fiction อย่างรุนแรงอยู่แล้วด้วย
No comments:
Post a Comment