THESIS 1, 2, 3, 4 (2014, Yingyong Wongtakee, A+5)
เส้นและจังหวะของความเป็นเมือง
เส้นและจังหวะของความเป็นเมือง
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่
1.ดูแล้วไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้วตั้งใจทำเป็น video
installation แบบ 4 หน้าจอหรือเปล่า หนังก็เลยออกมาเป็น 4 ชิ้นสั้นๆ
ชิ้นละ 2 นาทีแบบนี้ แทนที่จะทำเป็นหนังเรื่องเดียวยาว 8 นาทีไปเลย
2.ชอบ THESIS 3 มากที่สุดนะ ชอบที่ช่วงแรกมันทำให้ภาพกลายเป็น
abstract ไปเลย และชอบที่ช่วงท้ายมันมีอารมณ์หลอนๆเข้ามา
จริงๆแล้วตอนดู THESIS 1, 2, 4 เราจะชอบแค่ในระดับ
A+ เท่านั้น แต่ THESIS 3 ช่วยฉุดเกรดขึ้นมาเป็น
A+5
3.คือดูแล้วก็รู้สึกว่ามันก็ดี แต่มันไม่ได้โดดเด่นกระทบความรู้สึกอะไรเรามากเป็นพิเศษ
มันเหมือนภาพจิตรกรรมที่ออกมาในรูปแบบวิดีโออาร์ตแทน คือมันไม่ได้ให้สาระหรือข้อมูลอะไรเราเหมือน
“ภาพยนตร์” ทั่วๆไป เราก็เลยพบว่าความรู้สึกที่เรามีต่อวิดีโอชุดนี้มันคล้ายๆกับความรู้สึกที่มีต่อการชมงานจิตรกรรมมากกว่า
4.ส่วนที่ชอบในงานวิดีโอชุดนี้ก็มีเช่น
การที่มันจับสังเกตสิ่งธรรมดาต่างๆในชีวิตประจำวันที่เรามองข้ามไป
อย่างเช่นสายไฟฟ้า, ท่อ, รางรถไฟ, ภาพตึกอาคารต่างๆ, ทัศนียภาพของสถานที่ต่างๆ
แล้วนำมันมาเรียงร้อยเข้าด้วยกันในแบบที่มีการซ้อนทับภาพ
และมีการตัดต่อฉับไวรุนแรง พร้อมกับมีการบันทึกเสียงของ “เมือง” เข้ามาด้วย
และมีการรีมิกซ์เสียงของเมืองให้เข้ากับภาพ
เราว่าผลที่ออกมาได้มันก็สวยดีและเพลินดีสำหรับเราในระดับนึง
5.แต่สาเหตุที่ทำให้ชอบแค่ A+5 แต่ไม่ได้มากไปกว่านั้น
อาจจะเป็นเพราะว่า เราดูแล้วก็รู้สึกว่า มันก็ไม่ได้แตกต่างหรือโดดเด้งไปจากหนังทดลองหลายๆเรื่อง
ตั้งแต่ THE MAN WITH A MOVIE CAMERA (1929, Dziga Vertov) เป็นต้นมา
คือการถ่ายภาพเมืองแบบนี้และการตัดต่อแบบนี้มันไม่ใช่สิ่งใหม่สำหรับเราน่ะ
มันให้อารมณ์เหมือนกับการฟังเพลงแดนซ์เทคโนเพลงนึง ที่มันไพเราะเพราะพริ้งดี แต่มันไม่ได้โดดเด้งไปจากเพลงแดนซ์หลายๆเพลงที่เราเคยฟังมาแล้ว
และมันไม่มีท่อนที่ติดหูมากนัก
6.อีกสาเหตุที่ไม่ได้ชอบมากนักก็คือว่า
มันเหมือนกับวิดีโอชุดนี้นำเสนอ “ความสับสนวุ่นวายของเมืองใหญ่” อะไรทำนองนั้นน่ะ
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เรารู้ดีอยู่แล้ว เราไม่จำเป็นต้องดูวิดีโอนี้
เราก็รู้สึกหรือสัมผัสถึงความสับสนวุ่นวายเหี้ยห่าจัญไรของกรุงเทพได้ดีอยู่แล้ว เรามองดูกรุงเทพด้วยตาเปล่า
เราก็รู้สึกถึงสิ่งเหล่านี้ได้เองอยู่แล้ว โดยไม่ต้องมองมันผ่านวิดีโอชุดนี้
เพราะฉะนั้นเราก็เลยชอบ THESIS 3 มากที่สุดในวิดีโอชุดนี้
ตรงที่มันทำภาพให้เป็น abstract ไปเลย
เพราะภาพแบบนั้นเราไม่สามารถรับรู้มันด้วยตาเปล่าได้อยู่แล้ว
และเราก็ชอบความหลอนในช่วงท้ายด้วย
คือมันมีหนังทดลองบางเรื่องที่ก็ถ่ายภาพกรุงเทพหรือเมืองใหญ่เหมือนกันนะ
แต่เราจะชอบหนังทดลองกลุ่มข้างล่างมากกว่าวิดีโอชุดนี้ด้วยเหตุผลต่างๆกันไป
อย่างเช่น
6.1 หนังของ Teeranit Siangsanoh หลายๆเรื่อง ที่ถ่ายกรุงเทพออกมาได้หลอกหลอนหรืองดงามมากๆในแบบของตัวเอง
6.2 FIREFLIES (2005, Chawit Waewsawangwong) ที่ถ่ายไฟนีออนของกรุงเทพออกมาได้อย่างงดงามมากๆ
และด้วยจังหวะการตัดต่อที่รวดเร็วสุดๆ ซึ่งแตกต่างจากหนังของ Teeranit ที่เน้นถ่ายไฟนีออนเหมือนกัน แต่เน้นจังหวะการตัดต่อที่เนิบช้า
6.3 หนังบางเรื่องของ Tossapol Boonsinsukh ที่อาจจะจับภาพสายไฟฟ้าในกรุงเทพเหมือนกัน
แต่เรากลับรู้สึก “เหงา” อย่างสุดขีด เมื่อเห็นภาพสายไฟฟ้าในหนังของทศพล บุญสินสุข
6.4 หนังอย่าง FOURTH WORLD (พื้นที่ในสำนึก)
(2007, Chayanis Wongthongdee + Techanan Jirachotrawee) ที่อาจจะถ่ายภาพสถานที่ต่างๆเหมือนกัน
แต่การเรียงร้อยภาพเหล่านี้เข้าด้วยกันมันให้อารมณ์แบบ poetic ที่งดงามมากๆน่ะ แทนที่จะให้อารมณ์ “สับสนวุ่นวาย” แบบใน THESIS ชุดนี้
6.5 หนังของ James Benning ที่อาจจะถ่ายภาพถนนในอุโมงค์, ปล่องไฟ,
ถนนเล็กๆ, ต้นไม้ แต่เขาปล่อยให้เราจับจ้องมองมันอย่างเนิ่นนาน
ซึ่งมันเป็นสิ่งที่เราไม่ได้ทำในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นความรู้สึกที่ได้จากการมองภาพเหล่านี้อย่างเนิ่นนาน
จึงแตกต่างจากความรู้สึกที่ได้จากการมองภาพท้องถนนในกรุงเทพที่ตัดภาพฉึบๆอย่างรวดเร็ว
แต่เราก็ไม่รู้นะว่า จุดประสงค์ของ THESIS ชุดนี้ที่นำเสนอต่ออาจารย์คืออะไร
คือถ้าหากจุดประสงค์คือการสะท้อนภาพความสับสนวุ่นวายน่าปวดหัวของกรุงเทพ
มันก็ตอบโจทย์นี้ได้น่ะ เพียงแต่ว่าจุดประสงค์นี้มันไม่เข้าทางเราน่ะ
เพราะเราไม่ได้ต้องการดูหนังที่สะท้อนความน่าปวดหัวของกรุงเทพ
ซึ่งเป็นสิ่งที่เรารู้ดีอยู่แล้ว เราต้องการดูหนังแบบในกลุ่มข้างต้นมากกว่า
ซึ่งเป็นหนังที่สามารถทำให้กรุงเทพที่น่าเกลียดมากๆ กลายเป็นเมืองที่งดงาม,
หลอกหลอน, หงอยเหงา หรือสามารถสร้างอารมณ์แปลกๆใหม่ๆขึ้นมาจากภาพกรุงเทพที่เราคุ้นชินได้
No comments:
Post a Comment