THE SCARLET LETTER (1973, Wim Wenders, West Germany, 90min, A+25)
1.สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้
ก็คือไม่รู้ว่าทำไมเวนเดอร์สถ่ายหน้านักแสดงแบบโคลสอัพ
แล้วมันทำให้นักแสดง/ตัวละครออกมาดูเป็นมนุษย์มากๆ มันอธิบายไม่ถูกน่ะ
แต่เรารู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่เจอในหนังทั่วๆไป แต่มันเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกพิเศษกับหนังเรื่องนี้
คือเวลากล้องโคลสอัพไปที่ใบหน้านักแสดง/ตัวละครในหนังเรื่องอื่นๆ
เราจะรู้สึกว่าเรากำลังดูนักแสดงที่กำลังสวมบทบาทเป็นตัวละครตัวนั้นอยู่
และนักแสดงกำลังสื่ออารมณ์ความรู้สึกเรื่องราวของตัวละครตัวนั้นออกมา
แต่ในหนังเรื่องนี้นั้น เวลากล้องโคลสอัพไปที่ใบหน้าตัวละคร เราจะรู้สึกเหมือนเราเห็นภาพจิตรกรรมแนว
portrait หรือ self-portrait อะไรทำนองนี้
มันเป็นใบหน้าของมนุษย์จริงๆ และมันเป็นใบหน้าที่เก็บงำอดีตและอารมณ์ความรู้สึกส่วนนึงเอาไว้
ไม่พยายามแสดงมันออกมา
คือในขณะที่การโคลสอัพในหนังทั่วไปทำให้เรามุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่นักแสดงกำลังแสดงออกมาเพื่อ
“สื่อสารกับผู้ชม” แต่การโคลสอัพในหนังเรื่องนี้ทำให้เรารู้สึกว่า
เรากำลังมองใบหน้าของมนุษย์จริงๆ มนุษย์ที่มีอดีต มีความลับอยู่ในใจ
มนุษย์ที่กำลังคิดเรื่องร้ายๆอยู่ในใจ แต่พยายามไม่แสดงมันออกมา
มนุษย์ที่อัดอั้นตันใจ แต่พยายามทำใบหน้าเรียบเฉย
คือใบหน้าในหนังเรื่องนี้มันเข้าใกล้มนุษย์จริงๆในแง่ที่ว่า
มนุษย์จริงๆมันไม่พยายามแสดงอารมณ์ความรู้สึกทั้งหมดในใจตนเองออกมาเพื่อสื่อสารกับคนดูไง
แต่มนุษย์จริงๆมันมีอดีต มีอะไรอยู่ในใจเยอะมาก
และมันพยายามควบคุมใบหน้าของตนเองเพื่อไม่แสดงมันออกมาทั้งหมด
หรือแสดงมันออกมาเพียงแค่ 10% เท่านั้น
2.แน่นอนว่าหนังเรื่องนี้ไม่เข้าพวกกับหนังเวนเดอร์สส่วนใหญ่ เพราะมันเป็นหนังที่เน้นการเล่าเรื่องแบบชัดเจน
เห็นเส้นเรื่องเด่นชัด และมีดนตรีประกอบที่เร้าอารมณ์แบบพังพินาศมากๆ
(เข้าใจว่าเวนเดอร์สคงโดนสตูดิโอหรือนายทุนบังคับในส่วนนี้)
แต่ตอนดูก็จะนึกถึงหนังเรื่องอื่นๆของเวนเดอร์สเช่นกัน อย่างเช่น
2.1 หนังเน้น landscape มากๆ
ช่วงเปิดเรื่องประมาณ 5 นาทีแรกนี่นึกว่า JAUJA (2014, Lisandro Alonso,
Argentina) และหนังเรื่องอื่นๆของเวนเดอร์สก็ให้ความสำคัญกับ landscape
เช่นกัน
2.2 หนังเน้นความน่ารักของเด็กหญิงตัวน้อยๆ เหมือนกับ ALICE
IN THE CITIES (1974, Wim Wenders)
2.3 Hester Prynne (Senta Berger) นางเอกของหนังเรื่องนี้
เป็นคนนอกของสังคม ที่ดูเหมือนจะไม่อินังขังขอบกับสังคมสักเท่าไหร่ ซึ่งตัวเอกในหนังหลายๆเรื่องของเวนเดอร์สก็มีลักษณะเหมือนเป็นคนนอกของสังคมเช่นกัน
3.พอดูแล้วก็อดเทียบกับ THE SCARLET LETTER (1995, Roland Joffé) เวอร์ชั่น Demi Moore ไม่ได้ ซึ่งเวอร์ชั่นเดมี่
มัวร์นี่เป็นเวอร์ชั่นที่ถูกด่าอย่างรุนแรงมาก แต่เรารับหนังเรื่องนั้นได้ 555
เพราะเราชอบตัวละครผู้หญิงหัวแข็งที่ไม่ยี่หระต่อสังคมแบบนั้น
เราอาจจะชอบ THE SCARLET LETTER ทั้งสองเวอร์ชั่นนี้ในระดับใกล้เคียงกันนะ
แน่นอนว่าเวอร์ชั่นของเวนเดอร์สมัน “ดี” กว่า แต่เวอร์ชั่นของเดมี่
มัวร์ก็ได้ใจเราในแง่ความหัวแข็งของนางเอกนี่แหละ
ส่วนในเวอร์ชั่นของเวนเดอร์สนั้น ตัวละครนางเอกดู “อ่อนนอก แข็งใน”
น่ะ คือหน้าตาของเธอดูไม่ได้เปล่งประกายความกร้าวออกมาแบบเดมี่ มัวร์
หน้าตาเธอดูเหมือนผู้หญิงเรียบร้อย อ่อนโยน แต่เธอก็ถูกชาวบ้านรุมด่าว่า “อีกะหรี่
อีกะหรี่ มึงควรถูกจับเผาทั้งเป็น” ตลอดเวลา แต่เธอก็ยังทำหน้าเรียบเฉย
อ่อนโยนอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้ทำหน้าถมึงทึงตอบกลับไป คือหน้าเธอดูอ่อนโยนน่ะ
แต่การที่เธอไม่ได้รู้สึกรู้สาอะไรกับการโดนด่าว่า “อีกะหรี่” ตลอดเวลาแบบนี้
แสดงให้เห็นว่าในใจเธอเข้มแข็งมาก
4.สิ่งหนึ่งที่เราชอบมากในเวอร์ชั่นของเวนเดอร์ส
ซึ่งเราจำไม่ได้ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ในเวอร์ชั่นของเดมี่ มัวร์หรือเปล่า
คือตัวละครหญิงบ้าในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นตัวละครที่ได้ใจเรามากๆ คือในเวอร์ชั่นของเวนเดอร์สนั้น
มันจะมีตัวละครสาวสวยในหมู่บ้านคนนึงที่เป็นบ้า อยู่ดีๆก็จุดไฟเผาตัวเอง
และเป็นเพียงคนเดียวในหมู่บ้านที่ประกาศตัวเข้าข้าง Hester Prynne อยู่ตลอดเวลา
เธอพยายามชวนนางเอกเข้าไปในป่า และบางวันเธอก็ใส่ชุดที่มีตัวอักษร A ประทับที่หน้าอกเหมือนนางเอก
เพื่อให้กำลังใจนางเอกที่ถูกบังคับให้ใส่ชุดแบบเดียวกัน
เราว่าเรา identify กับตัวละครทำนองนี้มากๆ มันทำให้เรานึกถึงตัวละครเพื่อนนางเอกที่
Katrin Cartlidge แสดงใน BREAKING THE WAVES (1996,
Lars von Trier) คือใน THE
SCARLET LETTER กับ BREAKING THE WAVES เราอาจจะไม่
identify ตัวเองกับตัวละครนางเอกมากเท่ากับตัวละครเพื่อนนางเอก
เพราะตัวละครนางเอกในหนังทั้งสองเรื่องนี้มัน sacrifice ตัวเองเพื่อบูชาความรัก
แต่ตัวละครเพื่อนนางเอกในหนังสองเรื่องนี้มันไม่ได้บูชาความรัก
แต่มันออกมาเพื่อด่าสังคมใจแคบ หรือเพื่อปะทะกับสังคมใจแคบอย่างตรงไปตรงมา
มันก็เลยใกล้เคียงตัวเรามากกว่า
เสียดายเรายังไม่ได้ดู THE SCARLET LETTER เวอร์ชั่นปี
1926 ที่กำกับโดย Victor Sjöstrom และนำแสดงโดย Lillian
Gish จะได้นำมาเปรียบเทียบกัน 3 เวอร์ชั่น
5.รู้สึกว่าเวนเดอร์สจะไม่ค่อยทำหนังที่ตัวละครเอกเป็นผู้หญิงนะ
มันก็เลยอาจจะเป็นปัจจัยนึงที่ทำให้เราไม่อินกับหนังของเวนเดอร์แบบรุนแรงเท่ากับหนังของ
Rainer Werner Fassbinder, Ulrike
Ottinger และ Werner Schroeter และเวนเดอร์สก็เลยไม่ใช่ผู้กำกับคนโปรดของเรา
555 แต่พอเวนเดอร์สกำกับหนังที่มีตัวละครเอกเป็นหญิงแกร่ง อย่าง THE
SCARLET LETTER และ UNTIL THE END OF THE WORLD (1991, Wim
Wenders, A+30) เราก็พบว่า เราชอบมันมากเลยทีเดียว
No comments:
Post a Comment