ROOM 666 (1982, Wim Wenders, documentary, 44min, A+25)
1.อันนี้เป็นหนังสารคดีสั้นๆที่วิม เวนเดอร์สให้ผู้กำกับภาพยนตร์ 15
คนมาตอบคำถามเกี่ยวกับอนาคตของภาพยนตร์ในปี 1982 ซึ่งเป็นช่วงที่สุนทรียภาพแบบทีวีเริ่มเข้ามามีอิทธิพลเหนือภาพยนตร์
และเป็นช่วงที่ประชาชนเริ่มดูภาพยนตร์ผ่านทางม้วนวิดีโอเทป แทนที่จะไปดูในโรง
โดยผู้กำกับ 15 คนนี้มีคนที่เราไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อนอยู่ 3 คน ซึ่งได้แก่ Noël Simsolo (SPASM OF THE OPERA),
Ana Carolina (HEART AND GUTS) กับ Romain Goupil (HALF A
LIFE) ส่วนอีก 12 คนนั้นเรารู้จักดีหรือเคยได้ยินชื่อมาบ้างแล้ว
ซึ่งได้แก่ Jean-Luc Godard, Paul Morrissey, Mike de Leon, Monte Hellman,
Susan Seidelman, Rainer Werner Fassbinder, Werner Herzog, Robert Kramer,
Mahroun Bagdadi, Steven Spielberg, Michelangelo Antonioni และคนสุดท้าย
Yilmaz Güney ที่มาแต่เสียง
2.เป็นหนังที่เวนเดอร์สไม่ต้องทำอะไรมาก
เพราะเขาไม่อยู่ในห้องขณะที่ผู้กำกับแต่ละคนตอบคำถาม ผู้กำกับแต่ละคนจะอยู่ในห้องเพียงคนเดียว
และอ่านคำถามจากกระดาษ และตอบใส่กล้อง
คือเป็นหนังที่เวนเดอร์สไม่ต้องแสดงฝีมือทางการกำกับแต่อย่างใด
ยกเว้นในฉากเปิดเรื่องที่เขาถ่ายต้นไม้อายุ 150 ปีได้อย่างทรงพลังมากๆ
คือความสำเร็จของหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้มาจากฝีมือการกำกับของเวนเดอร์ส แต่มาจากเส้นสายของเขาที่สามารถดึงตัวผู้กำกับชั้นนำเหล่านี้ให้มาตอบคำถามเดียวกันได้
3.อย่างไรก็ดี เราว่าแค่ฉากเปิดเรื่องแค่ 1
นาทีแรกนี่ก็จั๋งหนับมากแล้ว คือมันเป็นมุมมองของ genius อย่างเวนเดอร์สจริงๆที่แค่เห็นต้นไม้ต้นเดียวก็สามารถถ่ายมันออกมาได้อย่างน่าประทับใจขนาดนั้น
คือฉากเปิดเป็นฉากที่เวนเดอร์สถ่ายต้นไม้ใหญ่ข้างถนนต้นหนึ่งที่เขาเห็นเป็นประจำขณะเดินทางออกจากหรือเข้าสู่สนามบินใกล้กรุงปารีส
และก็มีเสียงบรรยายว่า ต้นไม้ต้นนี้อายุ 150 ปี เพราะฉะนั้นต้นไม้ต้นนี้คงได้เห็น “จุดกำเนิดของภาพถ่าย”
มาแล้ว และคงได้เห็น “จุดกำเนิดของภาพยนตร์” ด้วย
และต้นไม้ต้นนี้อาจจะยังมีชีวิตอยู่ต่อไปหลังจาก “ภาพยนตร์ตายแล้ว” ด้วยก็ได้ และหลังจากนั้นมันก็นำมาสู่คำถามในปี
1982 ที่ว่า ภาพยนตร์จะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกนานหรือไม่
ในยุคของโทรทัศน์และวิดีโอเทป
4.ดูหนังเรื่องนี้แล้วก็นึกว่าการประกวดนางงามรอบตอบคำถาม
เพราะมันวัดกึ๋นคนตอบจริงๆ และเราก็พบว่า Jean-Luc Godard ชนะเลิศแบบขาดลอยครองตำแหน่งนางงามจักรวาลไปเลยในสายตาของเรา
เพราะ Godard ตอบคำถามได้ดีสุดๆ
และเต็มไปด้วยมุมมองทัศนคติที่น่าสนใจมากๆ ส่วนนางงามรองอันดับ 1 อาจะเป็น Michelangelo
Antonioni และนางงามรองอันดับสองอาจจะเป็น Werner Herzog ในขณะที่ผู้กำกับหลายๆคนตอบสั้นๆ
ส่วนอันดับโหล่นี่ไม่ต้องเดาก็รู้ว่าน่าจะเป็น Steven Spielberg 555
5.สิ่งที่เราชอบมากๆในคำตอบของ Godard ก็มีเช่น
5.1 การเปรียบเทียบผู้กำกับภาพยนตร์/ละครโทรทัศน์ที่ทำหน้าที่ “สื่อสาร”
ว่าไม่ต่างอะไรจากบุรุษไปรษณีย์ ซึ่งเราเห็นด้วยมากๆ เพราะผู้กำกับภาพยนตร์คนใดที่สร้างหนังที่ทำเพียงแค่
“สื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจตรงกัน” ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนั้นก็ไม่ต่างอะไรไปจาก “บุรุษไปรษณีย์”
5.2 การที่โกดาร์ดบอกว่า จริงๆแล้วผู้กำกับ “โฆษณา” มันเก่งมากในแง่ที่ว่า
มันใช้เพียงแค่ one word หรือ one image มันก็ say a lot ได้
ซึ่งความเก่งในแง่นี้สามารถเทียบได้กับ Sergei Eisenstein ใน
BATTLESHIP POTEMKIN (1925) เลย เพราะแต่ละ image ในหนังเรื่องนั้นก็สามารถ say a lot ได้เหมือนๆกัน
อย่างไรก็ดี สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า “โฆษณา” มันพูดในสิ่งที่หลอกลวง เพราะมันสั้นมาก
แต่ถ้าหากโฆษณานั้นยาว 75 นาทีแบบ BATTLESHIP POTEMKIN มันก็เป็นการยากที่โฆษณานั้นจะพูดแต่ในสิ่งที่หลอกลวงเกี่ยวกับสินค้าของตนเองได้
5.3 การที่ Godard บอกว่าผู้ชมหลายๆคนไม่ต้องการรับฟัง stories
ใหม่ๆ แต่ต้องการฟังเพียงแค่ stories เดิมๆเท่านั้น
ต้องการฟังเพียงแค่เรื่องที่ตัวเองพอจะคาดเดาล่วงหน้าได้ว่ามันจะจบในแบบไหนได้บ้าง
และฮอลลีวู้ดกับผู้สร้างละครโทรทัศน์ก็ผลิตแต่เรื่องเดิมๆออกมา เพียงแต่ “เปลี่ยนชื่อเรื่อง”
เท่านั้นเอง และผู้ชมเหล่านี้ก็จะทำตัวเหมือนเด็กเล็กๆ
ทำเหมือนกับว่าหนังเรื่องนั้นเป็นหนังใหม่
ทั้งที่จริงๆแล้วมันก็เล่าเรื่องซ้ำซากเดิมๆ
5.4 การที่ Godard บอกว่า “Films create their own images
without us seeing it” และการที่ Godard บอกว่า
“My country is the imagination” คือเราไม่แน่ใจว่าสองประโยคนี้ของ
Godard หมายความว่าอะไร แต่สิ่งที่เขาพูดทำให้เรานึกถึงการที่ภาพยนตร์ที่ดีมากๆบางเรื่องทำให้เราเห็นสิ่งที่ไม่ได้ปรากฏอยู่บนจอน่ะ
แต่เห็น “ภาพที่จิตของเราสร้างขึ้นมาเอง” คือ Godard อาจจะไม่ได้หมายความอย่างนี้นะ
แต่มันทำให้เรานึกถึงอะไรแบบนี้
6.ส่วนอีนังสปีลเบิร์กนี่สมควรอยู่ในหนังเรื่องนี้จริงๆ
เพื่อจะได้สร้างความ contrast กับผู้กำกับคนอื่นๆอย่างรุนแรง คือในส่วนของผู้กำกับคนอื่นๆนั้น
Godard พูดถึงแนวคิดที่น่าสนใจ, Antonioni พูดถึงการที่เราต้องปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ, Paul
Morrissey พูดว่าละครโทรทัศน์มันดีกว่าภาพยนตร์ซะอีกนะ
เพราะตัวละครในละครโทรทัศน์มันเป็นมนุษย์จริงๆมากกว่า หรือ Herzog ที่คาดเดาอนาคตได้อย่างถูกต้องมากๆว่า
ทีวีกับวิดีโอเทปไม่ทำให้ภาพยนตร์ตายหรอก ภาพยนตร์จะอยู่ต่อไปได้แน่ๆ ซึ่งหลังจาก Herzog
พูดสิ่งนี้ในปี 1982 ตอนนี้ผ่านมา 33 ปีแล้ว ภาพยนตร์ก็ยังคงดำรงอยู่ต่อไป
แต่สปีลเบิร์กกลับพร่ำพูดแต่เรื่องงบประมาณในการทำหนัง 555 คือหนังเรื่องนี้มันแสดงให้เห็นจริงๆว่า
ผู้กำกับแต่ละคนในหัวมึงให้ความสำคัญกับอะไร
คือสปีลเบิร์กหมกมุ่นแต่กับเรื่องที่ว่า
ต้นทุนในการทำหนังมันพุ่งขึ้นเรื่อยๆตามอัตราเงินเฟ้อ JAWS จะต้องใช้ทุนสร้างเท่าไหร่ในยุคปัจจุบัน
E.T. จะต้องใช้ทุนสร้างเท่าไหร่ในอนาคต
สหภาพแรงงานในฮอลลีวู้ดจะเรียกร้องขอขึ้นค่าแรงอีกเท่าไหร่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้กำกับคนอื่นๆในหนังเรื่องนี้ไม่สนใจเลย
คือสปีลเบิร์กสนแต่เรื่องเงินและการงัดข้อกับนายทุน/สตูดิโอ/ผู้อำนวยการสร้างหนังเพียงอย่างเดียว
7.รู้สึกว่ามันมีหนังทำนองนี้หลายเรื่องนะ
ที่เปรียบเทียบผู้กำกับหลายๆคนในหนังเรื่องเดียวกัน ทั้ง I AM A DIRECTOR (2010, ณิชภูมิ ชัยอนันต์) ที่สัมภาษณ์ผู้กำกับหนังไทยที่น่าสนใจมากๆอย่างอุเทน
ศรีริวิ และหรินทร์ แพทรงไทย, FLOWERS OF TAIPEI: TAIWAN NEW CINEMA (2004,
Chinlin Hsieh, A+30) และ SOUTHEAST ASIAN CINEMA: WHEN THE
ROOSTER CROWS (2014, Leonardo Cinieri Lombroso, A+5) ซึ่งเราว่าความสำเร็จของหนังแต่ละเรื่องในกลุ่มนี้มันขึ้นอยู่กับตัวผู้กำกับที่หนังเลือกโฟกัสน่ะ
อย่าง ROOM 666 นี่ ถ้าไม่มีโกดาร์ด
เกรดอาจจะหล่นฮวบลงมาเหลือ A+10 หรือ A+15 ได้เลยนะ ส่วนหนังอย่าง FLOWERS OF TAIPEI นี่
พอมันโฟกัสไปที่กลุ่มผู้กำกับขั้นเทพ เราเลยรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันมีคุณค่าตามไปด้วย
No comments:
Post a Comment