RED BEARD (1965, Akira Kurosawa, Japan, 185min, A+30)
1.Yuzo Kayama พระเอกหนังเรื่องนี้หล่อมากๆ
ตรงสเปคเรามากๆ กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด
2.หนังมีทั้งองค์ประกอบที่ชอบมากๆ
และองค์ประกอบบางอย่างที่หมิ่นเหม่มากๆต่อการที่จะกลายเป็นสิ่งที่เราเกลียดชังได้อย่างรุนแรง
แต่ก็ต้องนับถือฝีมือของ Akira Kurosawa จริงๆที่สามารถคุม “องค์ประกอบที่หมิ่นเหม่”
เหล่านั้นไม่ให้กลายเป็นอะไรที่ทำลายหนังเรื่องนี้ลงได้
3.คือหนังเรื่องนี้มีทั้งองค์ประกอบที่ทำให้นึกถึงหนังของ Nagisa Oshima และ Steven
Spielberg อยู่ในหนังเรื่องเดียวกันน่ะ 555
แน่นอนว่าองค์ประกอบแบบหนังของ Nagisa Oshima ซึ่งได้แก่ตัวละครหญิงเฮี้ยนๆแรงๆนั้นเป็นสิ่งที่เราชอบสุดๆ
ส่วนองค์ประกอบแบบหนังของ Spielberg ซึ่งได้แก่ท่าทีแบบ “moral
superior” ที่หนังมีต่อคนดูนั้นเป็นสิ่งที่โดยปกติแล้วเราจะไม่ชอบ
โดยเฉพาะถ้าหากมันอยู่ในมือของผู้กำกับหนังฮอลลีวู้ดหรือผู้กำกับหนังไทยที่สั่งสอนศีลธรรมคนดูได้อย่างไม่เนียนพอ
แต่พอมันอยู่ในมือของ Akira Kurosawa ไอ้องค์ประกอบที่หมิ่นเหม่นี้ก็เลยไม่ล้นเกินหรือกระฉอกใส่หน้าเราอย่างรุนแรงเกินไป
เราก็เลยยอมรับหนังเรื่องนี้ได้ แม้จะรู้สึกตะขิดตะขวงใจอยู่เล็กน้อยกับการสั่งสอนคนดูในทางอ้อมของหนัง
4.ขอพูดถึงสิ่งที่ “หมิ่นเหม่” ต่อความรู้สึกของเราก่อนก็แล้วกัน คือหนังเรื่องนี้มีโครงเรื่องหลักเกี่ยวกับ
“การที่ตัวละครคนหนึ่งทำดีอย่างรุนแรง อุทิศตัวเองต่อสังคมอย่างรุนแรง” แล้วมันก็สร้างแรงบันดาลใจให้กับพระเอก
ซึ่งตอนแรกเหมือนเป็นคนเห็นแก่ตัว
ให้ค่อยๆกลายเป็นคนดีที่อุทิศตัวเองเพื่อสังคมตามไปด้วย แล้วความดีที่พระเอกทำ
ก็เป็นแรงบันดาลใจให้เด็กสาวใจหมาคนนึง ค่อยๆกลายเป็นคนดีจิตใจอ่อนโยนตามไปด้วย
มันคือหนังเกี่ยวกับการทำความดีที่เป็นแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆทำดีต่อๆกันไปเรื่อยๆเป็นลูกโซ่น่ะ
ซึ่งแน่นอนว่า พล็อตแบบนี้ ถ้าหากเป็นโฆษณาไทย, หนังไทยหรือหนังฮอลลีวู้ดหลายๆเรื่อง
มันเสี่ยงมากๆที่จะกลายเป็นหนังที่เราเกลียดได้อย่างง่ายๆในทันที
เพราะโดยปกติแล้วหนังที่วางท่าทีคล้ายๆอย่างนี้ มักจะเป็นหนังที่ผู้สร้างมีชุดความคิดทางศีลธรรมที่คับแคบชุดหนึ่ง
แล้วต้องการจะเผยแพร่ให้คนอื่นๆเห็นดีเห็นงามตามตนเอง
ผู้สร้างก็เลยทำหนังแบบนี้ขึ้นมา และมีการลงโทษ/โบยตี/ประณามตัวละครที่ทำตัวแตกต่างจากชุดศีลธรรมที่ผู้สร้างหนังคิดเองเออเอง
ซึ่งมันจะแตกต่างจากหนัง feel bad และหนัง humanist หลายเรื่องที่เราชอบ
ซึ่งมันจะเป็นหนังที่โอบรับมนุษย์ด้วยจิตใจที่เปิดกว้างจริงๆ
มีการมองมนุษย์ขี้เหม็นที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่องด้วยท่าทีที่ให้อภัยจริงๆ และไม่ตัดสินตัวละครมนุษย์สีเทาเหล่านั้นด้วยกฎเกณฑ์ทางศีลธรรมที่คับแคบที่ตนเองตั้งขึ้นมา
อย่างไรก็ดี โชคดีที่ RED BEARD ไม่ได้ตกหลุมพรางแบบหนังกลุ่ม
“สั่งสอนศีลธรรม” ที่เราเกลียด คือถึงแม้โครงเรื่องหลักของมันจะหมิ่นเหม่มากๆ
เพราะมันมีตัวละครหลักๆที่เหมือนกับจะบอกคนดูในทางอ้อมว่า “จงทำดี จงทำดี จงทำดี” แต่มันมีซับพล็อตหลายเรื่องมากซ้อนอยู่ในพล็อตหลักของหนังเรื่องนี้
และซับพล็อตแต่ละอันในหนังเรื่องนี้ก็เต็มไปด้วยตัวละครเหี้ยๆห่าๆชิบหายๆมากมาย
เราก็เลยไม่รู้สึกว่า เราถูกยัดเยียดคำสอนทางศีลธรรมมากเกินไป คือโอเคว่า
พล็อตหลักของมันอาจจะเป็นการสั่งสอนศีลธรรมในแบบที่เราอาจจะไม่ชอบ แต่ซับพล็อต 5-6
เรื่องที่ซ้อนอยู่ในพล็อตหลักมันเป็นอะไรที่จัญไรในแบบที่เราชอบมากๆ
มันก็เลยช่วยประคับประคองอารมณ์ของเราไม่ให้ต่อต้านคำสอนทางศีลธรรมที่อยู่ในหนังเรื่องนี้ได้
5.อีกส่วนที่ตอนแรกรู้สึกก้ำกึ่งในหนังเรื่องนี้ก็คือ ความเป็น “อภิมนุษย์”
ของตัวละคร “เคราแดง” ที่แสดงโดย Toshiro Mifune น่ะ คือตัวละคร “เคราแดง”
ตัวนี้นอกจากจะมีความฉลาดเก่งกาจในฐานะแพทย์แล้ว เขายังมีจิตใจที่ดีงามสุดๆ
และเป็นยอดฝีมือในการต่อสู้กับเหล่าร้ายด้วย คือดีเว่อมากๆ เหมือนกับตัวละครที่แสดงโดยหลีหมิงในละครทีวีฮ่องกงเรื่อง
THE LEGENDARY RANGER (1992) เลย ที่เป็นทั้งแพทย์ผู้เก่งกาจและเป็น
superhero ที่ออกไปต่อสู้กับผู้ร้ายด้วย
อย่างไรก็ดี ปัจจัยที่ช่วยทำให้เราไม่อี๋กับตัวละครเคราแดงตัวนี้
ก็คือวิธีการนำเสนอของ Akira Kurosawa น่ะ คือถึงแม้ว่าในทางทฤษฎีแล้วตัวละครเคราแดงตัวนี้มันจะดูเว่อมากๆ
แต่เรารู้สึกว่าตัวละครตัวนี้ไม่ได้ถูกขับเน้นความเป็นฮีโร่มากเกินไปด้วยเทคนิคทางภาพยนตร์หรืออะไรทำนองนี้
คือเหมือนกับว่าภาพยนตร์ไม่ได้ใช้เทคนิคพิเศษในการทำให้ตัวละครตัวนี้ดูมีออร่ามากกว่าปกติขึ้นมา
มันก็เลยทำให้ตัวละครตัวนี้ดูมีภาพลักษณ์ภายนอกเหมือนมนุษย์ธรรมดา
เพียงแต่สิ่งที่เขาทำเท่านั้นที่ทำให้เขากลายเป็นคนพิเศษ
และพอได้ดูหนังสารคดีเรื่อง CARTEL LAND (2015, Matthew Heineman, A+30) เราก็พบว่าตัวละครอย่าง “เคราแดง” ก็อาจจะไม่เว่อจนเกินความเป็นจริงนะ
เพราะในหนังสารคดีเรื่อง CARTEL LAND ก็มีคุณหมอที่ออกไปต่อสู้กับเหล่าร้ายเหมือนกัน
และคุณหมอคนนี้ก็มีความน่ากังขาในท่าทีแบบ moral superior ด้วยเหมือนกัน
เราก็เลยพบว่าอะไรที่เรามักคิดในตอนแรกว่ามันเว่อจนเกินความเป็นจริงในหนัง fiction
นั้น จริงๆแล้วมันไม่เป็นเช่นนั้นหรอก เพราะ truth มักจะ stranger than fiction ในหลายๆครั้ง
6.ส่วนสิ่งที่เราชอบสุดๆใน RED BEARD นั้น สิ่งแรกก็คือโครงสร้างการเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้
ซึ่งเป็นอะไรที่เราชอบมากๆ คือในแง่นึงมันสามารถเอาไปเปรียบเทียบได้กับหนังอย่าง OBABA
(2005, Montxo Amendáriz, Spain) และ ARABIAN NIGHTS (2015,
Miguel Gomes) น่ะ คือหนังทั้ง 3 เรื่องนี้
มันจะมีโครงเรื่องหลักอยู่อันนึง แต่ภายในโครงเรื่องหลักนั้น
มันเต็มไปด้วยเรื่องราวย่อยๆมากมาย
และเรื่องราวย่อยๆเหล่านั้นบางทีมันอาจจะมีโทนเรื่องหรือ genre เรื่องที่ไม่สอดคล้องกับโครงเรื่องหลักก็ได้
คือเราจะชอบอะไรแบบนี้มากๆ เพราะเรามองว่าชีวิตจริงของมนุษย์มันไม่เหมือนกับ genre หนังน่ะ คือหนังส่วนใหญ่ที่ปฏิบัติตัวตาม
genre มันจะลดทอนหรือตัดแง่มุมบางอย่างของโลก, จักรวาล, ชีวิตมนุษย์ออกไป
แต่หนังที่มีการผสม genre เข้าด้วยกัน, เล่นสนุกกับกฎเกณฑ์งี่เง่าของ
genre, หรือไม่เคร่งครัดกับ genre แต่ทำตัวตามสบาย
หรือเปลี่ยน genre ตัวเองตามใจชอบทุก 15-30 นาที
มันจะสามารถแก้ไขข้อบกพร่องของหนังที่ทำตัวตาม genre ได้
เพราะฉะนั้นหนังที่มีซับพล็อตมากมายที่ทำตัวตามสบาย และไม่สน genre หลักของหนัง ก็เลยถือเป็นหนังประเภทที่เข้าทางเราสุดๆ
แต่จริงๆแล้ว RED BEARD ก็ไม่ได้พิสดารเหมือนอย่าง
OBABA และ ARABIAN NIGHTS นะ
เพราะซับพล็อตแต่ละเรื่องใน RED BEARD มันไม่ได้พิสดารหรือมีโทนที่แตกต่างจากกันอย่างรุนแรง
มันค่อนข้างสอดคล้องผสมเป็นเนื้อเดียวกันมากๆ ไม่เหมือน OBABA ที่ซับพล็อตบางอันกลายเป็นหนังคนละ genre กัน
และไม่เหมือน ARABIAN NIGHTS ที่ไปสุดทางในแง่ของ “การแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้อันมากมายมหาศาลในการเล่าเรื่อง”
อย่างไรก็ดี ถึงแม้ซับพล็อตแต่ละเรื่องใน RED BEARD มันไม่ได้
“แหวกแนว” อย่างรุนแรง แต่มันก็ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้นอยู่ดีเวลาหนังมันกำลังจะเข้าซับพล็อตเรื่องใหม่น่ะ
คือหนังมันทำให้เราตื่นเต้นกับความจริงที่ว่า ชีวิตของตัวละครประกอบแต่ละคนมันไม่ถูกจำกัดความเป็นไปได้มากเกินไปแบบในหนังทั่วๆไปน่ะ
คือในหนังทั่วๆไปนั้น สมมุติว่าเป็นหนังโรแมนติก ตัวละคร “เพื่อนนางเอก”
ก็จะต้องมีชีวิตที่สอดคล้องกับ genre หนังโรแมนติก ตัวละครเพื่อนนางเอกจะไม่สามารถลุกขึ้นมาสังหารหมู่ชนชั้นกลางแล้วยังคงทำหน้าที่เป็นเพื่อนนางเอกในหนัง
romantic หรือในหนังอย่าง THE INTERN (2015, Nancy
Meyers) ได้ คืออะไรๆแบบนี้มันเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบในหนังทั่วๆไปน่ะ
แต่ใน RED BEARD นั้นมันทำลายสิ่งที่เราไม่ชอบนี้ทิ้งไป
เพราะมันแสดงให้เห็นว่าตัวละครประกอบแต่ละตัวมันมีชีวิตที่สุดตีนในแบบของมันเอง
มันไม่ต้องติดอยู่ในกรอบที่ว่า “ฉันเป็นตัวละครประกอบ เพราะฉะนั้นชีวิตของฉันต้อง
เบาๆ กว่าตัวละครหลัก” อะไรทำนองนี้
7.แล้วซับพล็อตแต่ละอันในหนังเรื่องนี้มันก็มักจะมีตัวละครหญิงแบบที่เข้าทางเรามากๆอยู่ด้วย
คือตัวประกอบหญิงหลายตัวในหนังเรื่องนี้เข้าไปอยู่ในหนังของ Nagisa Oshima และ Shohei
Imamura ได้โดยไม่ต้องรู้สึกว่าตัวเองแปลกแยกแต่อย่างใดน่ะ ทั้ง “ฆาตกรโรคจิตที่เป็นสาวสวยที่ไล่ฆ่าหนุ่มๆโดยใช้ปิ่นปักผมเป็นอาวุธ”,
“หญิงสาวที่ถูกแม่บังคับให้แต่งงานกับชายหนุ่มที่แม่อยากงาบไปกินเสียเอง”, “หญิงสาวที่แต่งงานอยู่กินกับชายหนุ่มอย่างมีความสุข
แต่อยู่ดีๆเธอก็รู้สึกว่าชีวิตเธอมีความสุขมากเกินไป
เธอไม่สมควรมีความสุขในชีวิตมากแบบนี้ เธอก็เลยทิ้งผัวแสนดีของเธอไปเลย” และ “เด็กสาวอายุ
12 ปีที่เป็นโรคจิต เอาแต่ถูบ้านทั้งวัน และพยายามจะเอาพระเอกมาเป็นผัวให้ได้”
คือตัวประกอบหญิงแต่ละตัวในหนังเรื่องนี้นี่มันรับประกันความ A+30 จากดิฉันมากๆค่ะ 555 โดยเฉพาะตัวเด็กสาวอายุ 12 ปีที่เป็นโรคจิตนั้น
เป็นตัวละครแบบที่ดิฉันชอบสุดๆ ดูแล้วนึกถึงตัวละครในนิยายเรื่อง “ระบำไฟ”
ของม.มธุการี ที่เป็นหญิงสาวที่ยากจน และโหยหาความรักอย่างรุนแรง
และพยายามจะเอาพระเอกมาเป็นผัวให้ได้ คือทั้งตัวละครตัวนี้ใน RED BEARD และ “ระบำไฟ” มันมักจะถูก treat เป็น “นางอิจฉา”
ในหนังเรื่องอื่นๆน่ะ เพราะตัวละครหญิงประเภทนี้ไม่ใช่คนจิตใจดีแบบ “นางเอก” และหนังเรื่องอื่นๆมักจะปฏิบัติต่อตัวละครประเภทนี้ในฐานะ
“นางอิจฉาหน้าโง่ที่สมควรโดนตบ” เท่านั้น แต่ทั้ง RED BEARD และ
“ระบำไฟ” กลับไม่ได้ปฏิบัติต่อตัวละครหญิงประเภทนี้ในฐานะ “นางอิจฉา”
แต่เจาะลึกไปที่ความว่างโหวงทางจิตวิญญาณของตัวละครหญิงประเภทนี้
และตีแผ่ให้เราเห็นความเป็นมนุษย์ที่อยู่ภายใต้ตัวละครหญิงประเภทนี้อย่างรุนแรง
เราก็เลยชอบ RED BEARD และระบำไฟมากๆในแง่นี้
8.สรุปว่า RED BEARD ทำให้เราต้องยอมรับจริงๆว่า
Akira Kurosawa แม่งเก่งจริงๆใน “การเล่าเรื่อง” แต่ยังไงถ้าหากเทียบกับผู้กำกับในรุ่นเดียวกันอย่าง
Mikio Naruse เราก็ยังคงชอบ Naruse
มากกว่าเยอะนะ เพราะหนังของ Naruse มัน touch ความรู้สึกเราใน layer ที่ลึกกว่าหนังของ Akira
Kurosawa น่ะ คือหนังของ Akira Kurosawa
มันทำให้เราทึ่งกับ “การเล่าเรื่อง” แต่หนังของ Naruse มันสะเทือนอารมณ์ความรู้สึกเราในระดับที่ลึกกว่า
ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือว่า ความรู้สึกของเราที่มีต่อการดูหนังของ Akira Kurosawa เหมือนกับความรู้สึกของเราที่มีต่อจำนวนตรรกยะ
(rational numbers) ตัวเลข 1, 2, 3, 4
หรืออะไรบางอย่างที่อาจจะนำเสนอเป็นรูปธรรมได้ไม่ยากนัก
แต่การดูหนังของ Mikio Naruse, Maurice Pialat อะไรพวกนี้
เหมือนกับความรู้สึกของเราที่มีต่อจำนวนอตรรกยะ (irrational numbers) มันเป็นอะไรบางอย่างที่มีอยู่จริง แต่มันยากจะอธิบายได้
ส่วนการดูหนังของ Kiyoshi Kurosawa อาจจะเหมือนกับความรู้สึกของเราที่มีต่อจำนวนตอแหล
(imaginary numbers) คือมันเป็นอะไรบางอย่างที่เราชอบสุดๆ แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร
ไม่เข้าใจอะไรทั้งนั้น รู้แต่ว่าชอบสุดๆ 555
No comments:
Post a Comment