THE KILLING OF LABOUR: THE DESTRUCTION (LA MISE À MORT DU TRAVAIL)
(2009, Jean-Robert Viallet, documentary, A+30)
+
THE KILLING OF LABOUR: THE ALIENATION
(2009, Jean-Robert Viallet, documentary, A+20)
หนังเรื่องแรกที่เราดูในปี 2016 คือสารคดีสองตอนนี้ที่เคยแพร่ภาพทางทีวีช่อง
TV5MONDE เมื่อ 3-4
ปีก่อน จริงๆแล้วสารคดีฝรั่งเศสนี้มี 3 ตอน แต่เราอัดวิดีโอเก็บไว้ได้แค่ 2
ตอนเท่านั้น
ชอบตอน THE DESTRUCTION มากๆ
ดูแล้วรู้สึกเหมือนกับมันเป็นด้านสารคดีของหนังอย่าง TWO DAYS, ONE NIGHT
(2014, Jean-Pierre Dardenne + Luc Dardenne, A+30) และ FREELANCE
(2015, Nawapol Thamrongrattanarit) เพราะ THE KILLING OF
LABOUR: THE DESTRUCTION มันเป็นสารคดีที่สำรวจปัญหาของพนักงานบริษัทเอกชนที่มีการตบตีกันระหว่างพนักงานด้วยกันเอง
และระหว่างพนักงานกับเจ้านายเหมือนอย่างใน TWO DAYS, ONE NIGHT
คือในสารคดีตอนนี้ มันพูดถึงกรณีปัญหาพนักงานบริษัทเอกชนหลายๆกรณี
แต่กรณีที่เราชอบที่สุดคือเรื่องของพนักงานแคชเชียร์ในบริษัทซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งหนึ่งที่มันรุนแรงมากๆ
คือถ้าพนักงานคนไหนในซูเปอร์มาร์เก็ตแห่งนี้ไปเข้าร่วมสหภาพแรงงาน เธอก็จะถูกกลั่นแกล้งให้โดนไล่ออก
อย่างเช่น อยู่ดีๆก็จะมีหมากฝรั่งไปอยู่ในกระเป๋าของเธอ แล้วเธอก็จะถูกกล่าวหาว่า
ขโมยของจากซูเปอร์มาร์เก็ต แล้วถูกไล่ออกไป
โดยที่บริษัทไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยการถูกปลดออกงานเหมือนอย่างกรณีปกติ
(ใครมันจะขโมยหมากฝรั่งวะ) อะไรทำนองนี้
แล้วพนักงานก็จะมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันเหมือนใน TWO DAYS, ONE NIGHT ด้วย คือพนักงานบางคนที่เข้าข้างฝ่ายสหภาพแรงงาน ก็จะถูกกลั่นแกล้งให้โดนไล่ออกไปทีละคน
และพนักงานคนไหนที่แสดงตัวว่าเห็นใจคนที่โดนไล่ออกไป ก็จะค่อยๆโดนไล่ออกตามไปด้วยเหมือนกัน
แต่ก็มีพนักงานบางคนที่ทำตามคำสั่งของเจ้านายด้วยการกลั่นแกล้งกลุ่มพนักงานกลุ่มแรก
อย่างเช่น แกล้งเปิดประตูอะไรสักอย่างเพื่อให้มวลอากาศเย็นแผ่จากอีกห้องนึงเข้ามาใส่ที่นั่งแคชเชียร์ของพนักงานกลุ่มแรก
เพื่อให้อีนี่นั่งทำงานพร้อมกับโดนอากาศเย็นมากเป็นพิเศษ
หรือแกล้งด้วยการเข็นรถเข็นซูเปอร์มาร์เก็ตกระแทกใส่แรงๆอะไรทำนองนี้
ถึงแม้สารคดีนี้เน้นไปที่พนักงานบริษัทเอกชน แต่เราก็นึกถึงหนัง FREELANCE ด้วย
เพราะเนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึง “การเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงาน”
ทั้งที่เป็นผลโดยตรงและเป็นผลกระทบโดยอ้อมจากทางจิตใจ โดยในส่วนของผลโดยตรงนั้น
ก็มีอย่างเช่น พนักงานแคชเชียร์ที่ปวดหลัง,ไหล่, แขนอย่างรุนแรง เพราะงานของเธอคือการยกสินค้าผ่านเครื่อง
scan bar code ตอนคิดเงิน คือมันเหมือนเป็นงานง่ายๆ
ไม่ต้องออกแรงมาก แต่จริงๆแล้วการยกสินค้าผ่านเครื่อง scan bar code ตลอดทั้งวันแบบนี้ มันนับน้ำหนักรวมกันแล้วพบว่า
พนักงานแต่ละคนยกสินค้าหนักเป็นตันๆต่อวันน่ะ
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือว่า งานมันส่งผลกระทบต่อจิตใจ แล้วจิตใจก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายตามมาด้วย
อย่างเช่นพนักงานแคชเชียร์หญิงคนนึงที่ทำตามคำสั่ง “เจ้านาย”
ด้วยการกลั่นแกล้งพนักงานกลุ่มสหภาพแรงงาน แต่พอเธอทำแบบนั้นไปได้สักพัก
เธอก็กลายเป็นคนหัวล้าน ผมร่วงหมดหัวเหมือนคนเป็นมะเร็ง ทั้งที่ไม่ได้เป็นมะเร็ง
คือร่างกายมันส่งสัญญาณเตือนบางอย่างต่อตัวเธอ เหมือนกับในหนังเรื่อง FREELANCE
แต่สารคดีเรื่องนี้ตอน ALIENATION ไม่ค่อยพีคเท่าตอน DESTRUCTION
เพราะตอน ALIENATION มันสำรวจการทำงานของพนักงานบริษัท
Carglass ว่ามีสุขทุกข์อย่างไรบ้าง แต่หนังเรื่องนี้มันเป็นหนังสารคดีไง
แล้วบริษัทไหนที่มันทำตัวเหี้ยๆอย่างรุนแรงกับพนักงาน มันก็คงไม่ยอมให้ทีมงานเข้าไปถ่ายทำในบริษัทหรอก
มันก็มีแต่บริษัทที่ “ไม่ค่อยมีปัญหากับพนักงาน” อย่าง Carglass นี่แหละ ที่ยอมให้มีการถ่ายทำสารคดีในบริษัทได้ เพราะฉะนั้นสารคดีเรื่องนี้ตอน
ALIENATION ก็เลยส่องสะท้อนให้เราเห็นปัญหาของ “ระบบบริษัทเอกชน”
ในแบบที่ไม่รุนแรงอะไรมากนัก
No comments:
Post a Comment